Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Policy network and policy implementation in education reform sandbox : a case study of Rayong province (industrial area) and Sisaket province (agricultural area)

Year (A.D.)

2023

Document Type

Independent Study

First Advisor

ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์

Faculty/College

Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)

Department (if any)

Department of Public Administration (ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์)

Degree Name

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

รัฐประศาสนศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.IS.2023.387

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาการบริหารจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา กรณีศึกษาจังหวัดระยอง (เขตพื้นที่อุตสาหกรรม) และจังหวัดศรีสะเกษ (เขตพื้นที่เกษตรกรรม) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กระบวนการนโยบายสาธารณะพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ และการประเมินผลนโยบาย 2) วิเคราะห์ การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการบริหาร พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 3) วิเคราะห์ความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค และแนวทาง ในการพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในทั้งสองจังหวัด ประสบความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรม ลดความเหลื่อมล้ำ และกระจายอำนาจ โดยมีปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถานศึกษา และชุมชน การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน การพัฒนาบุคลากร การมีส่วนร่วม ของชุมชน และการใช้เทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานยังมีอุปสรรค เช่น การขาดความต่อเนื่องของนโยบายและงบประมาณ การขาดแคลนบุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญ และการเข้าถึงเทคโนโลยีที่จำกัด การวิจัยครั้งนี้เสนอแนะแนวทาง ในการพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยเน้นการสร้างความร่วมมือ จากทุกภาคส่วน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนา ศักยภาพของบุคลากร การสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรม การพัฒนาระบบข้อมูล และการกระจายอำนาจ โดยคำนึงถึงบริบทและความต้องการของพื้นที่เป็นสำคัญ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research was to study the management of Educational Innovation Areas (EIAs) in Thailand, focusing on Rayong (Industrial area) and Sisaket (Agricultural area) provinces and includes three objectives. First, analyze the public policy process of EIAs in policy formulation implementation and evaluation. Second, analyze the participation of local administrative organizations the private sector and the public in EIA management. Third, analyze the successes problems obstacles and guidelines for EIA management development. Qualitative data was collected from 20 stakeholders involved in EIAs. The results show that the EIAs in both provinces have succeeded in innovation development inequality reduction and decentralization. The success factors include collaboration among the government private sector educational institutions and communities support from the government. As well as private sectors personnel development community participation and technology utilization. However, there are still obstacles such as the lack of policy and budget continuity the shortage of qualified personnel and limited access to technology. This research suggests guidelines for EIA management development emphasizing collaboration from all sectors infrastructure development promotion of learning exchange personnel capacity development incentives for innovation information system development and decentralization while considering the context and needs of each area

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.