Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Factors of lexical tones and musical notes on creaky voice in a Thai song

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์

Second Advisor

ชวดล เกตุแก้ว

Faculty/College

Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)

Department (if any)

Department of Linguistics (ภาควิชาภาษาศาสตร์)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ภาษาศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.255

Abstract

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยระดับเสียงของวรรณยุกต์และโน้ตดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงก้องพร่าในการร้องเพลงภาษาไทยโดยใช้เทคนิคโวคอลฟราย และ 2) ศึกษาลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของเสียงก้องพร่าที่ปรากฏในการร้องเพลงภาษาไทยโดยใช้เทคนิคโวคอลฟราย เก็บข้อมูลจากผู้ร่วมวิจัยที่ประกอบอาชีพร้องเพลง ทั้งหมด 10 คน เพศชาย 5 คน เพศหญิง 5 คน อายุตั้งแต่ 20 – 30 ปี บันทึกเสียงผู้ร่วมการทดลอง จากการร้องเพลงภาษาไทยที่ผู้วิจัยแต่งขึ้นใหม่ที่มีการควบคุมวรรณยุกต์อย่างสมดุล ผู้ร่วมวิจัยได้รับอนุญาตให้ออกแบบวิธีการร้องด้วยตนเอง และให้เลือกใช้เสียงก้องพร่า (รู้จักในชื่อเทคนิคโวคอลฟราย) ได้ตามอัธยาศัย จำแนกเสียงก้องพร่าจากการฟังประกอบการพิจารณาแผนภาพคลื่นเสียงเพื่อวิเคราะห์การปรากฏในแต่ละวรรณยุกต์และโน้ตดนตรี ใช้วิธีการทางสถิติด้วย Man – Whitney U Test เพื่อยืนยันข้อแตกต่างที่พบ ศึกษาลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของเสียงก้องพร่าทั้งหมด เพื่อระบุประเภทย่อยซึ่งอ้างอิงจากการศึกษาของ Keating et al (2015) รวมถึงวัดค่าระยะเวลาเสียงก้องพร่าจากเสียงสระทั้งหมด ผลการศึกษาปฏิสัมพันธ์ของวรรณยุกต์และโน้ตดนตรีต่อการเกิดเสียงก้องพร่าในการร้องเพลงไทย พบว่า เสียงก้องพร่านั้นสามารถปรากฏได้ในทุกช่วงระดับเสียง แต่ปรากฏในช่วงโน้ตเสียงต่ำมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และโดยภาพรวม ผู้ร่วมวิจัยเพศชายมีการเลือกใช้เสียงก้องพร่ามากกว่าในทุกช่วงระดับเสียง นอกจากนี้ ในช่วงโน้ตเสียงต่ำ เสียงก้องพร่าปรากฏมากที่สุดกับกลุ่มวรรณยุกต์ต่ำสำหรับผู้ร่วมวิจัยทั้งสองกลุ่ม แต่ในช่วงโน้ตเสียงกลาง ผู้ร่วมวิจัยเพศหญิงใช้เสียงก้องพร่าในกลุ่มวรรณยุกต์สูงมากที่สุด ผลการศึกษาลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของเสียงก้องพร่าในการร้องเพลงไทย พบว่า โน้ตดนตรีมีอิทธิพลต่อการปรากฏของเสียงก้องพร่าในแต่ละวรณยุกต์ ส่งผลให้ประเภทย่อยของเสียงก้องพร่าค่อนข้างกระจายตัว เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับระดับเสียงที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่ของระดับเสียงโน้ตดนตรีและระดับเสียงของวรรณยุกต์ และถึงแม้มีการกระจายตัวค่อนข้างมาก แต่โดยภาพรวม เสียงก้องพร่าแบบโวคอลฟราย ปรากฏในสัดส่วนที่มากที่สุด ซึ่งผู้ร่วมวิจัยทุกคนใช้เสียงก้องพร่าแบบโวคอลฟรายในช่วงโน้ตเสียงต่ำ อีกทั้งโน้ตดนตรียังส่งผลให้ค่าระยะเวลาเสียงก้องพร่าแตกต่างกัน นอกจากนี้ ในช่วงโน้ตเสียงต่ำและกลาง วรรณยุกต์เอกและโท ส่งผลให้ระยะเวลาเสียงก้องพร่ามากกว่าวรรณยุกต์อื่นๆ แต่ในช่วงโน้ตเสียงสูงกลับพบว่าวรรณยุกต์ตรี ส่งผลให้ระยะเวลาของเสียงก้องพร่านั้นมากกว่าในวรรณยุกต์อื่นๆ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This study investigates the factors influencing creaky voice, a vocal fry technique, in Thai language singing. The research focuses on the impact of lexical tones and musical notes on the occurrence of creaky voice, and it examines the acoustic characteristics of creaky voice in Thai singing. Data from 10 professional singers (5 males, 5 females, aged 20-30) were collected during the experimental singing of a newly composed Thai song. Participants were free to employ a creaky voice in their singing styles. Each creaky voice was classified by impressionistic and acoustic analyses to examine its occurrence in each lexical tone and musical note. The statistical analysis was conducted using the Mann-Whitney U Test to confirm observed differences. Subtypes were identified based on Keating et al. (2015), and the duration of creaky voice in vowel sounds was measured. The results of the study on the correlation between lexical tones and musical notes with the occurrence of creaky voice in Thai singing reveal that creaky voice can manifest in every pitch range, but it is most prominent in the lower notes range. Overall, male participants tend to use creaky voice more frequently across all pitch ranges. Additionally, in the low-pitch range, creaky voice was most prevalent with the low lexical tone group among both participant groups, but in the mid-pitch range, female participants used creaky voice the most within the high lexical tone group. The study on the acoustic characteristics of creaky voice in Thai singing reveals that musical notes influence the manifestation of creaky voice in each tone, leading to a relatively widespread distribution of subtypes of creaky voice. This adaptation is observed to match different pitch levels, both for musical notes and tone levels. Despite the considerable dispersion, vocal fry (one of the subtypes) is found to be the most prevalent. All participants use vocal fry in the low-pitch range. Additionally, musical notes also contribute to variations in the duration of creaky voice. Furthermore, the low and falling tones tend to be produced with longer durations of creaky voice compared to the others in both low and mid pitch range. However, in the high-pitch range, it was found that the high tone had a longer duration of creaky voice than the other lexical tones.

Included in

Linguistics Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.