Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Work-related stress and mental health among bus drivers in Bangkok Mass Transit Authority
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Preventive and Social Medicine (ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.190
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความเครียดจากการทำงานและภาวะสุขภาพจิตของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในองค์การ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง จำนวน 329 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2566 โดยการใช้แบบประเมินความเครียดจากการทำงาน (Thai JCQ-45) และแบบประเมินภาวะสุขภาพจิต (Thai GHQ-12) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ระหว่างสองตัวแปรและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีความเครียดจากการทำงานสูง ร้อยละ 30.4 และมีความเสี่ยงในการมีปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 19.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับความเครียดจากการทำงาน ได้แก่ เพศหญิง (aOR= 2.37, 95%CI: 1.17-4.80) การทำอาชีพเสริม (aOR= 4.04, 95%CI: 1.03-15.80) ผู้ที่มีการเรียกร้องจากงานด้านกายภาพสูง (aOR= 7.49, 95%CI: 3.98-14.10) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับความเครียดจากการทำงาน ได้แก่ การออกกำลังกาย (aOR= 0.35, 95%CI: 0.12-0.98) ความมั่นคงของงานสูง (aOR= 0.27, 95%CI: 0.08-0.97) และการสนับสนุนทั้งสังคมสูง (aOR= 0.09, 95%CI: 0.03-0.32) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับความเสี่ยงในการมีปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ ชั่วโมงการทำงาน (aOR= 2.08, 95%CI: 1.06-4.07 ) อันตรายในงานสูง (aOR=, 95%CI: 1.90-7.66) และผู้ที่มีความเครียดจากการทำงานสูงมีความเสี่ยงในการมีปัญหาสุขภาพจิตเป็น 1.77 เท่า (95%CI: 1.01-3.11) ดังนั้นหน่วยงานควรส่งเสริมมาตรการในการป้องกันความเครียดจากการทำงานและปัญหาสุขภาพจิต
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research is a cross-sectional descriptive study. The objective of this study was to investigate the problem of work-related stress and mental health among bus drivers in the Bangkok Mass Transit Authority. The sample group consisted of 329 bus drivers selected through a multistage random sampling. The study was conducted from January to March 2023 using Thai JCQ-45 to assess work-related stress and Thai GHQ-12 to assess mental health. Data were analyzed using descriptive statistics, bivariate analysis, and multiple logistic regression analysis. The results showed that the prevalence of high work-related stress was 30.4% and the prevalence of risk for mental health problems was 19.5%. Factors positively associated with work-related stress included female gender (aOR=2.37, 95%CI: 1.17-4.80), having a second job (aOR=4.04, 95%CI: 1.03-15.80), high physical demands (aOR=7.49,95%CI: 3.98-14.10). Factors negatively associated with work-related stress included exercise (aOR=0.35, 95%CI: 0.12-0.98), high job security (aOR=0.27, 95%CI: 0.08-0.97), and high social support (aOR=0.09,95%CI: 0.03-0.32). Factors positively associated with the risk of mental health problems included working hours (aOR=2.08, 95%CI:1.06-4.07), high workplace hazard (aOR= 95%CI: 1.90-7.66). Individuals with high work-related stress had a 1.77 times higher risk of mental health problems (95%CI:1.01-3.11). Therefore, the organization should promote programs to prevent work-related stress and mental health problems.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ต่างวิวัฒน์, ชยุตม์, "ความเครียดจากการทำงานและภาวะสุขภาพจิตของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 10332.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/10332