Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณน้ำนมเหลืองที่ลูกสุกรได้รับและระดับของอิมมูโนโกลบูลินจีและอิมมูโนโกลบูลินเอที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสพีอีดีในน้ำนมเหลืองของแม่สุกร
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
Padet Tummaruk
Faculty/College
Faculty of Veterinary Science (คณะสัตวแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Obstetrics, Gynaecology & Reproduction (ภาควิชาสูติศาสตร์-เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Theriogenology
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.541
Abstract
The aims of the present study was to investigate factors associated with colostrum consumption of the neonatal piglets and determine the concentrations of total immunoglobulins G (IgG) and immunoglobulins A (IgA) against porcine epidemic diarrhea (PED) virus in colostrum for sow. The study consisted of two parts: Part I, the study included data of colostrum consumption from 1,140 neonatal piglets from 80 sows. Factors associated with piglet’s colostrum consumption included body weight at birth of the piglet, birth order, birth interval, heart rate, blood oxygen saturation, rectal temperature at 24 h, gestation length, total born, born alive, sow body conditions score and sow parity number. The association among these factors and colostrum consumption of the piglets was analyzed by using Pearson’s correlation. Part II was performed 81 Landrace x Yorkshire crossbred sows. Colostrum were randomly collected from the sows twice after farrowing. The time interval from the onset of farrowing until colostrum collection was classified into 2 groups, i.e., 0 and >6 hour and also classified according to parity number of sows into 4 groups, i.e., 1 (n=19), 2 (n=30), 3-5 (n=30) and 6-8 (n=20). The concentrations of immunoglobulins in colostrum was determined by ELISA. The results revealed that the colostrum consumption averaged 404.7 ± 183.35 grams. Mean of body weight at birth of the piglet (r=0.29, P<0.001), birth order (r = -0.22, P<0.001), total born (r=-0.21, P<0.001), born alive (r=-0.19, P<0.001), body conditions score (r=0.06, P<0.05), heart rate (r=0.11, P<0.05) and rectal temperature (r=0.30, P<0.001) were significantly correlated with colostrum consumption of the neonatal piglets. The concentration of IgA in multiparous sows was significantly higher than primiparous sows (8.58 vs 6.34, P= 0.012). On the other hand, gestation length, birth interval, blood oxygen saturation were not correlated with colostrum consumption. Sows parity numbers 6-8 had a higher IgG concentration than sows parity numbers 3-5 (0.56 ± 0.08 vs 0.40 ± 0.06, P<0.05), respectively. In contrast, the IgA concentration was higher in primiparous sows (0.55 ± 0.07) and 2 (0.54 ± 0.06) than sows parity number 3-5 (0.41 ± 0.06, P<0.05). The concentration of IgG in the colostrum collected at >360 min after farrowing was lower than that in the colostrum collected at 0-60 min after farrowing (P<0.05). In conclusion, the body weight at birth of the piglet, birth order, litter size, body conditions score, heart rate and rectal temperature (°C) were significantly associated with piglet colostrum consumption in the swine herd. The concentrations of IgG and IgA against PED virus in the colostrum varied significantly among parity number of sows and time interval after farrowing. Old sows had a higher IgG concentration than young sows. The concentrations of both IgG and IgA in the colostrum was highest during the first hour of farrowing and significantly declined after 6 h.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำนมเหลืองที่ลูกสุกรแรกคลอดได้รับและตรวจวัดความเข้มข้นของอิมมูโนโกลบูลินจีและอิมมูโนโกลบูลินเอที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสพีอีดีในน้ำนมเหลืองของแม่สุกร การทดลองประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษาข้อมูลจากลูกสุกรแรกคลอดจำนวน 1,140 ตัว จากแม่สุกรจำนวน 80 แม่ โดยทำการตรวจวัดน้ำหนักตัวของลูกสุกรแรกคลอด ลำดับการคลอด ระยะห่างระหว่างการคลอด การอัตราการเต้นของหัวใจ ปริมาณออกซิเจนในเลือดของลูกสุกรแรกคลอด อุณหภูมิที่ทวารหนักหลังคลอด 24 ชั่วโมง ระยะเวลาตั้งท้อง จำนวนลูกสุกรแรกคลอดมีชีวิตต่อครอก คะแนนรูปร่าง และลำดับท้องของแม่สุกร ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยวิธี Pearson’s correlation ส่วนที่ 2 ทำการศึกษาน้ำนมเหลืองที่ถูกเก็บจาก 2 ช่วงเวลา คือ ชั่วโมงแรก กับ 6 ชั่วโมงหลังคลอด โดยแบ่งแม่สุกรตามลำดับท้องออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ลำดับท้องที่ 1 จำนวน 19 ตัว ลำดับท้องที่ 2 จำนวน 30 ตัว ลำดับท้องที่ 3-5 จำนวน 30 ตัว และ ลำดับท้องที่ 6-8 จำนวน 20 ตัว ทำการตรวจวัดปริมาณอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) และอิมมูโนโกลบูลินเอ (IgA) ทั้งหมด และ ที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสพีอีดีในน้ำนมเหลืองด้วยวิธี ELISA ผลการศึกษาพบว่าค่าของเฉลี่ยน้ำนมเหลืองที่ลูกสุกรได้รับ เท่ากับ 404.7 ± 183.35 กรัม ซึ่งปริมาณน้ำนมเหลืองที่ลูกได้รับมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวของลูกสุกรแรกคลอด (r = 0.29, P < 0.001) ลำดับการคลอด (r = 0.22, P < 0.001) จำนวนลูกสุกรแรกคลอดทั้งหมดต่อครอก (r = -0.21, P < 0.001) จำนวนลูกสุกรแรกคลอดมีชีวิต (r = -0.19, P < 0.001) คะแนนรูปร่างของแม่สุกร (r = 0.06, P < 0.05) การอัตราการเต้นของหัวใจ (r = 0.11, P < 0.05) อุณหภูมิที่ทวารหนักหลังคลอด 24 ชั่วโมง (r = 0.30, P < 0.001) นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณของ IgA ของแม่สุกรนางมีค่าสูงกว่าแม่สุกรสาวอย่างมีนัยสำคัญ (8.58 และ 6.34 ตามลำดับ P = 0.012) แต่ระยะเวลาตั้งท้อง ระยะห่างระหว่างการคลอด และปริมาณออกชิเจนในเลือดไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำนมเหลืองที่ลูกสุกรได้รับ นอกจากนี้ยังพบว่าแม่สุกรลำดับที่ท้อง 6-8 มีปริมาณของ IgG ที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสพีอีดีในน้ำนมเหลืองสูงกว่าแม่สุกรลำดับท้องที่ 3-5 อย่างมีนัยสำคัญ (0.56 ± 0.08 vs 0.40 ± 0.06, P<0.05) แต่ปริมาณ IgA ของสุกรสาว (0.55 ± 0.07) กับแม่สุกรลำดับท้องที่ 2 (0.54 ± 0.06) สูงกว่าแม่สุกรลำดับท้องที่ 3-5 (0.41 ± 0.06, P<0.05) ปริมาณ IgG ในน้ำนมเหลืองที่เก็บหลังคลอด >360 นาที มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำนมเหลืองที่เก็บหลังคลอด 0-60 นาที (P<0.05) จากการศึกษาสรุปได้ว่า ปริมาณน้ำนมเหลืองที่ลูกสุกรได้รับมีความแปรปรวนตาม น้ำหนักแรกคลอดของลูกสุกร ลำดับการคลอด ขนาดครอก คะแนนรูปร่างของแม่สุกร อัตราการเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิที่ทวารหนักหลังคลอด 24 ชั่วโมงของลูกสุกร ความเข้มข้นของ IgG และ IgA ที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสพีอีดีในน้ำนมเหลืองมีความแปรปรวนตามลำดับท้องของแม่สุกรและช่วงเวลาหลังคลอด แม่สุกรอายุมากมีปริมาณ IgG สูงกว่าแม่สุกรอายุน้อย ความเข้มข้นของทั้ง IgG และ IgA ในน้ำนมเหลืองจะสูงที่สุดในชั่วโมงแรกหลังคลอด และลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังจาก 6 ชั่วโมง
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Juthamanee, Patthawan, "Factors influencing colostrum consumption of piglets and levels of immunoglobulin G and immunoglobulin A specifically against PED virus in colostrum of sows" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1031.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1031