Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Planning and scheduling for drug stability test using optimization techniques
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
วิภาวี ธรรมาภรณ์พิลาศ
Faculty/College
Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Industrial Engineering (ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมอุตสาหการ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.304
Abstract
งานวิจัยนี้ศึกษาการวางแผนและจัดตารางการทำงานสำหรับการทดสอบความคงตัวของยา โดยมีแนวคิดในการแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 การหารูปแบบมอบหมายงานให้กับพนักงานและเครื่องทดสอบ ในการแก้ปัญหาดังกล่าวแบบจำลองกำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มแบบผสมได้ถูกนำมาใช้ในการหาคำตอบของปัญหา แต่เนื่องจากมีหลายวัตถุประสงค์ที่ใช้ในการตัดสินใจ อีกทั้งแต่ละวัตถุประสงค์มีหน่วยที่ต่างกัน ทำให้แก้ปัญหาด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์เดียวทำได้ยาก จึงได้มีการพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์จำนวน 2 โมเดลเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าว โมเดลที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความแตกต่างของภาระงานสูงสุด และต่ำที่สุด และการทำงานล่วงเวลาของพนักงานให้น้อยที่สุด ในขณะที่โมเดลที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาลำดับความสำคัญของการทดสอบยา ส่วนที่ 2 เป็นการจัดตารางการทำงานของพนักงานและเครื่องทดสอบด้วยวิธีการฮิวริสติก โดยมีข้อมูลนำเข้าจากผลคำตอบที่ได้รับในงานส่วนที่ 1 และได้นำกฎการจัดลำดับความสำคัญ จำนวน 2 วิธี ได้แก่ กฎการเลือกงานที่ใช้เวลาน้อยที่สุดทำก่อน และกฎการเลือกงานที่ใช้เวลาทำนานที่สุดทำก่อน มาใช้ในการเรียงลำดับงานจำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ เวลาปฏิบัติงานรวมของการทดสอบ เวลาปฏิบัติงานเวลาในขั้นตอนแรกของการทดสอบ และเวลาปฏิบัติงานตามหัวข้อทดสอบ ผลการวิจัยจากงานส่วนที่ 1 พบว่ารูปแบบการการมอบหมายงานให้พนักงานและเครื่องทดสอบจากแบบจำลองคณิตศาสตร์ทั้ง 2 โมเดลให้ค่าคำตอบที่เหมือนกัน โดยยาแต่ละชนิดมีการเลื่อนทดสอบไปในเดือนถัด ๆ ไปมากขึ้น ภายใต้เงื่อนไขยาแต่ละชนิดต้องทดสอบภายใน 4 เดือน โดยมีจำนวนยาที่เลื่อนการทดสอบออกไปจำนวน 2,013 ล็อต ในส่วนของภาระงานที่พนักงานได้รับพบว่ามีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และในเดือนที่ 4 มีจำนวนภาระงานเกิดขึ้นสูงสุด ซึ่งทำให้เกิดการทำงานล่วงเวลาทั้งเภสัชกรและนักวิทยาศาสตร์ จากการจัดตารางการทำงานและวัดผลด้วยตัวชี้วัดประสิทธิภาพ พบว่าการจัดตารางการทำงานจากเวลาปฏิบัติงานเวลาในขั้นตอนแรกของการทดสอบ ด้วยวิธี SPT ให้ผลเฉลยที่ดีที่สุดตามวัตถุประสงค์ โดยไม่จำเป็นต้องทำงานล่วงเวลา โดยผลการศึกษานี้เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งที่ใช้ในการจัดตารางการทำงานของพนักงานและเครื่องทดสอบ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research studies the planning and scheduling for drug stability test, which are classified as two parts. Part one is developed to find a pattern of work assignment for staffs and testing machines. To solve this problem, a mixed-integer programming model (MILP) is proposed to find the optimal solution. Due to the objectives of a single mathematical model having some limitations, two mathematical models were developed. Model 1 focuses on minimizing the difference between the maximum and minimum workload of staffs and the amount of overtime, while Model 2 focuses on the priority of drug testing. Part two is the scheduling of staffs and testing machines by heuristic method. The input data was obtained from the results of the first part. Two methods of priority rules were applied, namely SPT and LPT. We use these two heuristics methods for sorting the tasks in three patterns, including the total processing time, the total processing time in the first step, and the total processing time by relevant topics. The part one result revealed that the patterns of work assignment for staffs and testing machines in those two models were similar. We found that each type of drug has been postponed to the following months under the condition that it must be tested within four months. There are 2,013 testing lots that have been postponed. In addition, the workload of staffs represented the capacity usage were similar and in the 4th month, the highest number of workloads and overtimes occurred. In terms of staff and testing machines scheduling, it was found that SPT sorting with processing time in the first step is the appropriate method which does not require overtime. Hence, this study is an alternative way for work scheduling of staffs and testing machines.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วรฤทัย, วริศรา, "การวางแผนและจัดตารางการทำงานสำหรับการทดสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์ยา ด้วยเทคนิคการหาค่าเหมาะสมที่สุด" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 10275.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/10275