Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Prioritization of criteria for heavy machinery procurement in road construction using group decision making and analytical hierarchy process

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

จิตรา รู้กิจการพานิช

Faculty/College

Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Industrial Engineering (ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมอุตสาหการ

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.288

Abstract

นโยบายการจัดหาเครื่องจักรหนักมีผลต่อความสำเร็จของผู้รับเหมาก่อสร้างถนนระดับท้องถิ่น การกำหนดนโยบายที่เหมาะสมสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่เครื่องจักรหนักไม่พร้อมใช้งาน งานไม่เสร็จตามกำหนด และป้องกันปัญหาต้นทุนสูงที่กว่าแผนงานก่อสร้างลงได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเลือกเกณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจต่อนโยบายการจัดหาเครื่องจักรหนัก เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ การวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นและการตัดสินใจของกลุ่มผู้รับเหมาระดับท้องถิ่น ขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มจาก (1) แบ่งกลุ่มผู้รับเหมาระดับท้องถิ่นเป็นสองกลุ่ม ตามขนาดทุนจดทะเบียนและตามศักยภาพในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรหนัก (2) สำรวจปัจจัยต่าง ๆ เพื่อกำหนดเป็นเกณฑ์ที่สัมพันธ์กับนโยบายของการจัดหาเครื่องจักร (3) สร้างผังโครงสร้างเชิงลำดับชั้นประกอบด้วยเกณฑ์หลัก 6 เกณฑ์ และนโยบาย 3 ทางเลือก ในงานวิจัยนี้ได้ใช้เครื่องจักรหนักกรณีศึกษา ได้แก่ รถเกลี่ยดิน รถตัก รถบรรทุกน้ำ และรถโม่คอนกรีตที่มีอายุงานสูง (4) ทำการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นและทำการประเมินความเสี่ยงของโครงการควบคู่กัน ผลการวิจัยพบว่ากรณีรถเกลี่ยดิน รถตักและรถโม่คอนกรีต กลุ่มผู้รับเหมาขนาดกลางให้ความสำคัญมากต่อเกณฑ์หลักได้แก่ "ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ" (0.309, 0.297, 0.322) และเกณฑ์รองได้แก่ "ค่าใช้จ่ายจากการส่งงานล่าช้า" (0.405, 0.368, 0.371) ในขณะที่กลุ่มผู้รับเหมาขนาดเล็กให้ความสำคัญมากต่อเกณฑ์หลัก "ประสิทธิภาพของทีมซ่อมบำรุง" (0.419, 0.402, 0.376) และเกณฑ์รอง "ค่าใช้จ่ายในการจัดหา" (0.226, 0.203, 0.311) ส่วนกรณีรถบรรทุกน้ำกลุ่มผู้รับเหมาขนาดกลางให้ความสำคัญมากต่อเกณฑ์หลักได้แก่ "ประสิทธิภาพทีมซ่อมบำรุง" (0.313) และเกณฑ์รองได้แก่ "ค่าใช้จ่ายจากการส่งงานล่าช้า" (0.335) ในขณะที่กลุ่มผู้รับเหมาขนาดเล็กให้ความสำคัญมากต่อเกณฑ์หลัก "ประสิทธิภาพของทีมซ่อมบำรุง" (0.404) และเกณฑ์รอง "ค่าใช้จ่ายในการจัดหา" (0.273) ทั้งนี้ผู้รับเหมาขนาดกลางเลือกนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อเครื่องจักรใหม่เมื่อมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียค่าปรับงานไม่เสร็จตามกำหนด ส่วนผู้รับเหมาขนาดเล็กเลือกนโยบายที่เน้นการซ่อมแซมเครื่องจักรที่มีอยู่เดิมเนื่องจากความกังวลกับค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องจักรสูง

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The success of local road construction contractors greatly depends on establishing an efficient heavy equipment procurement policy. Negligence in policy planning can pose risks related to equipment availability, project execution delays, and cost overruns. This research aims to examine the criteria that influence the decision-making process for heavy machinery procurement policies. The methodology employed hierarchical analysis and group decision-making for local contractors. The research process commenced with the following steps: (1) dividing local contractors based on registered capital size and ability to repair, (2) investigating relevant factors to establish criteria for selecting an equipment procurement policy,(3) establish hierarchical structures which encompassed six main criteria and three policies, (4) performing a hierarchical analysis process and conducting a project risk assessment in parallel. The findings of the grader, loader and concrete truck case study revealed that medium-sized contractors placed the highest priority on the main criterion " Total project cost" (0.309, 0.297, 0.322) and the sub-criterion "Delay cost" (0.405, 0.368, 0.371). Conversely, small-sized contractors prioritized the main criterion "Efficiency of maintenance team" (0.419, 0.402, 0.376) and the sub-criterion "Procurement cost" (0.226, 0.203, 0.311). The water truck case study revealed that medium-sized contractors placed the highest priority on the main criterion "Efficiency of maintenance team" (0.313) and the sub-criterion "Delay cost" (0.335). Conversely, small-sized contractors prioritized the main criterion "Efficiency of maintenance team" (0.404) and the sub-criterion "Procurement cost" (0.273). Both groups of contractors' risk assessment to select appropriate policies. According to the risk assessment results, medium-sized contractors opt for policies that involve purchasing new equipment when they anticipate potential fines due to work delays. On the other hand, small contractors focus on repairing their existing equipment for fear of incurring the high costs of acquiring machinery.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.