Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Assessments of applicable observation time and accuracy from virtual reference stations for RTK GNSS network surveying in Thailand

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

ธีทัต เจริญกาลัญญูตา

Second Advisor

เฉลิมชนม์ สถิระพจน์

Faculty/College

Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Survey Engineering (ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมสำรวจ

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.1279

Abstract

โครงข่ายการระบุพิกัดที่แม่นยำด้วยจีเอ็นเอสเอสแบบจลน์ในเวลาจริงเริ่มที่จะใช้งานได้ครอบคลุมทั่วประเทศไทยแล้วหลายโครงข่ายโดยจากหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ กรมที่ดินดำเนินการโครงข่ายที่ประกอบด้วยสถานีฐานรับสัญญาณจีเอ็นเอสเอสอย่างต่อเนื่องที่กระจายอยู่ทั่วประเทศรวมไปถึงศูนย์ข้อมูลกลาง ระเบียบวิธีการหนึ่งสำหรับประมวลผลใช้การหาค่าพิกัดแบบสัมพัทธ์ด้วยสัญญาณจีเอ็นเอสเอสคลื่นพาห์ที่มีหลายความถี่และสร้างสถานีอ้างอิงเสมือนในเวลาจริงเพื่อการรังวัดค่าพิกัดที่แม่นยำ กรมที่ดินทำหน้าที่สำรวจรังวัดที่ดินในประเทศไทย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้ค่าความถูกต้องของค่าพิกัดที่ดีกว่า 4 เซนติเมตร สำหรับผลการรังวัด การวิจัยนี้เป็นการประเมินผลเพื่อวิเคราะห์ระยะเวลาการรังวัดที่เหมาะสมของการรังวัดด้วยโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ในเวลาจริง และการหาค่าความถูกต้องของรากที่สองของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองในทางราบของเครื่องรับสัญญานจีเอ็นเอสเอส ยี่ห้อ CHC รุ่น i80 จากจุดทดสอบจำนวน 2,122 จุด ที่ได้จากเครื่องรับสัญญาณจีเอ็นเอสเอสแบบเดียวกันคือ ยี่ห้อ CHC รุ่น i80 การประเมินความสามารถของโครงข่ายสถานีฐานอ้างอิงนี้ ยังพิจารณาจากการหาค่าความถูกต้องของพิกัดทางราบที่วัดจากค่าคลาดเคลื่อนรากที่สองของกำลังสองเฉลี่ย โดยสร้างวงรอบสามเหลี่ยมจานวน 143 วง และแบ่งเป็น 4 ระยะคือ 30 ถึง 50, 50 ถึง 70, 70 ถึง 90 และ 90 ถึง 110 กิโลเมตร ตามระยะห่างเฉลี่ยของสถานีฐานอ้างอิง ส่วนค่าพิกัดอ้างอิงนั้นหาจากการรังวัดแบบสถิตเป็นเวลา 90 นาทีและได้ค่าพิกัดค่าแม่นยาสูงที่ได้จากการประมวลผลในภายหลัง การเปรียบเทียบค่าความถูกต้องของค่าพิกัดในทางราบที่ได้จากการอ่านผลจากเครื่องรับสัญญาณและการประมวลผลทำที่ระยะเวลาเฉลี่ยรวม 30 วินาที 1 นาที 2 นาทีและ 3 นาที โดยทำการรับสัญญาณดาวเทียมเป็นระยะเวลา 15 นาที การวิจัยนี้เป็นเครื่องยืนยันค่าความถูกต้องของค่าพิกัดในทางราบโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากค่าคลาดเคลื่อนรากที่สองของกำลังสองเฉลี่ยที่ได้จากการรังวัดและการประมวลผล ค่าดังกล่าวขึ้นอยู่กับระยะเวลาการรังวัดซึ่งควรจะมากกว่า 2 นาที และการกำหนดขนาดของวงรอบสามเหลี่ยมที่ควรมีขนาดของด้านสั้นกว่า 90 กิโลเมตร สำหรับงานที่ต้องการความถูกต้องของค่าพิกัดในทางราบในระดับ 4 เซนติเมตร และความถูกต้องของเครื่องรับสัญญาณจีเอ็นเอสเอส CHC รุ่น i80 เท่ากับ 2.27 เท่าของค่าของรากที่สองของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองในทางราบของเครื่องรับ อย่างไรก็ดีควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวเพื่อเพิ่มค่าความถูกต้องในทางราบโดยใช้เวลาการรังวัดที่สั้นลง

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

GNSS Real-Time Kinematic (RTK) precise positioning networks in Thailand start to fully operate across Thailand by several government agencies. The Department of Lands (DOL) maintains a nationwide-spread network of GNSS Continuously Operating Reference Stations (CORS) and a data centre. One of processing methodologies applies relative positioning using GNSS multiple carrier frequencies and generates real-time Virtual Reference Station (VRS) observables to obtain precise positioning. DOL is in charge of cadastral surveying in Thailand; hence, a horizontal positioning accuracy of better than 4 centimetre is required. This research is to analyses the applicable observation time and the Root Mean Square Error (RMSE) real value in horizontal position of CHC i80 receiver based on 2,122 tested points using identical rovers; CHC i80. More fully capabilities of these existing CORSs are further investigated on their horizontal positioning accuracy using RMSE by constructing 143 triangular loops and categorising into four groups based on their spacing of 30 to 50, 50 to 70, 70 to 90 and 90 to 110 kilometers. Their ground truth solutions are determined from a 90-minute static surveying and post-processing computations. The measured and computed horizontal positioning accuracy are compared based on four observed times from 30 seconds, 1 minute, 2 minutes, and 3 minutes whereby the approximated operating time is 15 minutes. This research provides means to ensure the measured and computed horizontal positioning accuracy especially on the RMSE. It directly varies due to its observed time; should be more than 2 minutes, and assigned loop sizes; should be less than 90 kilometres in order to obtain the positioning accuracy of better than 4 centimetres horizontally. Also, the RMSE in horizontal position of CHC i80 receiver is 2.27 scale factor of RMSE real value. However, the further investigations have to be made for better horizontal accuracy in a shorter observation time.

Included in

Engineering Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.