Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Work ability and associated factors of aging healthcare workers in a tertiary care hospital in Bangkok

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

พรชัย สิทธิศรัณย์กุล

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Preventive and Social Medicine (ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.724

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสามารถในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรทางการแพทย์สูงอายุในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป จำนวน 285 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนของแต่ละกลุ่มอาชีพ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามดัชนีชี้วัดความสามารถในการทำงาน (Work ability index) ฉบับภาษาไทย และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการทำงาน ข้อมูลจะถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบเชิงชั้น ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการทำงานอยู่ในระดับดี จำนวน 166 คน (ร้อยละ 58.2) และดัชนีชี้วัดความสามารถในการทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 38.8 คะแนน (SD = 4.50) และโดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ เคยมีประวัติการสูบบุหรี่ (ORadj = 11.43, 95% CI = 1.78 – 73.36) มีสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ดีในด้านการยศาสตร์ (ORadj = 4.22, 95% CI = 1.80 – 9.90) กลุ่มอาชีพแพทย์ (ORadj = 12.36, 95% CI = 2.15 – 71.00) มีความขัดแย้งกันกับบุคคลในครอบครัว (ORadj = 2.63, 95% CI = 1.14 – 6.06) เพศชาย (ORadj = 0.06, 95% CI = 0.01 - 0.32) ระดับการศึกษาสูงสุดสูงกว่าปริญญาตรี (ORadj = 0.37, 95% CI = 0.14 – 0.93) และรายได้ต่อเดือนมากกว่าทุก 1 พันบาท (ORadj = 0.95, 95% CI = 0.92 – 0.99) ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับปัญหาบุคลากรทางการแพทย์สูงอายุ เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานให้ดีขึ้น โดยอาจมีมาตรการป้องกัน รับมือ หรือจัดการกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์สูงอายุ เช่น จัดโครงการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในด้านการยศาสตร์ เป็นต้น

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This is a descriptive cross-sectional survey. The objective is to investigate work ability and associated factors of aging healthcare workers in a tertiary care hospital in Bangkok. The samples, obtained from stratified sampling, were 285 healthcare workers aged 45 and older. Work ability was assessed by a Work Ability Index questionnaire and associated factors were assessed by a questionnaire. Data were analysed using descriptive statistics and multiple logistic regression. According to the results of the present survey, most samples are in the “Good” category (n = 166, 58.2%). The mean score of the WAI was 38.8 (SD = 4.50). Factors significantly associated to work ability included history of smoking (ORadj = 11.43, 95% CI = 1.78 – 73.36), ergonomics problems in working environment (ORadj = 4.22, 95% CI = 1.80 – 9.90), physician (ORadj = 12.36, 95% CI = 2.15 – 71.00), conflict in family (ORadj = 2.63, 95% CI = 1.14 – 6.06), male (ORadj = 0.06, 95% CI = 0.01 - 0.32), the highest education level more than Bachelor degree (ORadj = 0.37, 95% CI = 0.14 – 0.93), and more income (every 1,000 baht) (ORadj = 0.95, 95% CI = 0.92 – 0.99). Therefore, we should focus on this situation and find ways to increase work ability by improving the factors that are associated to work ability of aging healthcare workers, such as launching a campaign to stop smoking, improving the working environment especially in ergonomics problem.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.