Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2022

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศารทูล สันติวาสะ

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2022.131

Abstract

การศึกษาเรื่องการนำ Non-Classroom Training มาใช้เป็นวิธีการพัฒนาฝีมือแรงงานตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการของกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ปัญหาในทางปฏิบัติของกฎหมายส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานที่มีการจำกัดแต่การใช้เครื่องมือ Classroom Training ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน แนวทางการแก้ปัญหาโดยนำหลักการเรียนรู้และประเมินผลโดยอิงกับสมรรถนะของผู้เรียน (Competency-Based Education) มาพิจารณาร่วมกับหลักการเรียนรู้และประเมินผลโดยอิงกับการเข้าร่วมในชั้นเรียน (Time Based Education) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แนวทางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของต่างประเทศ ได้ศึกษาสิทธิของแรงงานที่จะได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงานตามกฎหมายระหว่างประเทศ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization; ILO) ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ค.ศ.1975 (ฉบับที่ 142) ข้อแนะว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ค.ศ. 2004 (ฉบับที่ 195) และ ปฏิญญาไตรภาคีว่าด้วยหลักการเกี่ยวกับบรรษัทข้ามชาติและนโยบายทางสังคมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ รวมไปถึงกรณีศึกษาแนวทางการพัฒนาฝีมือแรงงานตามกฎหมายต่างประเทศ คือประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย เปรียบเทียบกับกฎหมายในลักษณะเดียวกันของประเทศไทยคือพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ผลการศึกษา พบว่าการฝึกอบรมในชั้นเรียน (Classroom Training) ถือเป็นการเรียนรู้ที่ง่ายต่อการวางแผนและการบริหารจัดการ แต่วิธีการดังกล่าวอาจไม่เหมาะกับบางทักษะหรือสมรรถนะใหม่ ซึ่งมีวิธีการฝึกอบรมที่เหมาะสมกว่า เช่น การเรียนผ่านระบบ E-Learning หรือการจัดการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติในหน้างานจริง (On the Job Training) ทั้งนี้ การเรียนรู้ควรจัดการแบบผสมผสานวิธีการในหลากหลายวิธีเข้าด้วยกัน โดยไม่ควรจำกัดอยู่แค่วิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ควรพิจารณาจากผลลัพธ์ ต้นทุนค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้มาพิจารณาประกอบด้วย ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ รวมไปถึงกระบวนการตรวจสอบความรู้ ความสามารถของผู้เรียน ซึ่งในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและมีความก้าวหน้ากว่าในช่วงเวลาที่ตรากฎหมายส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานไว้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้กับสถานประกอบกิจการให้เลือกใช้วิธีการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ โดยยังคงการได้สิทธิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ทั้งการยกเว้นการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานและการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยผู้เขียนมีความเชื่อมั่นว่า หากประเด็นดังกล่าวได้รับการแก้ไขแล้ว สถานประกอบกิจการย่อมเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตามทฤษฎีการเรียนรู้ มีค่าใช้จ่ายในการอบรมคุ้มค่าที่สุดและใช้เวลาในการเรียนรู้น้อยที่สุด ไม่กระทบกับเวลาในการปฏิบัติงานของลูกจ้าง อันจะทำให้ความสามารถของแรงงานในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น แข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.