Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Approaches for developing teachers adversity quotient in school under Khangkoi Ruamjai Consortium, Saraburi primary Educational service area office 2

Year (A.D.)

2021

Document Type

Independent Study

First Advisor

เพ็ญวรา ชูประวัติ

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Policy, Management, and Leadership (ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

บริหารการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.IS.2021.352

Abstract

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นและวิธีการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโรงเรียนสังกัดสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโรงเรียนสังกัดสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการ หัวหน้างานฝ่ายบุคคลและครู จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบประเมินร่างแนวทางแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ ความอดทนและด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความเพียร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความอดทนและความเพียร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุความต้องการจำเป็นของการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค พบว่า ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ (PNI [modified] = 0.294) รองลงมาคือ ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์และแก้ไขปัญหา (PNI [modified] = 0.274) ความรับผิดชอบต่อปัญหาและอุปสรรคพร้อมทั้งสามารถรับมือกับผลกระทบ (PNI [modified] = 0.249) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ ความอดทนและความเพียร (PNI [modified] = 0.261) 2) แนวทางการพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของครูโรงเรียนสหวิทยาศึกษาแก่งคอยร่วมใจ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 มี 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย 33 วิธีดำเนินการ คือ (1) ยกระดับความสามารถของครูในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (2) ยกระดับความสามารถของครูในการควบคุมสถานการณ์และแก้ไขปัญหา โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (3) สร้างขวัญและกำลังใจให้ครูมีความรับผิดชอบต่อปัญหาและอุปสรรคพร้อมทั้งสามารถรับมือกับผลกระทบ โดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (4) เสริมสร้างความอดทนและความเพียรของครู โดย การเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were to 1) examine assess the priority needs and methods of developing teachers adversity quotient in school under Khangkoi Ruamjai Consortium, Saraburi primary educational service area office 2; and to 2) propose the approaches for developing teachers adversity quotient in school under Khangkoi Ruamjai. The research informants consisted of 104 administrators, head of personal management and teachers. The research instrument used in this study was a five-level rating scale questionnaire and five-level rating scale of appropriability and possibility. The data was analyzed and presented in forms of frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Modified Priority Need Index (PNI [modified]), mode and content analysis. The research results were as follows: 1) The present state of developing teachers adversity quotient was performed at the high level. Whereas the highest average was Endurance and Perseverance, the lowest average was Analytical ability determine the cause. The desirable state of developing teachers adversity quotient was performed at the highest level. Moreover, the highest average was Endurance and Perseverance, the lowest average was Analytical ability determine the cause. The priority needs of developing teachers adversity quotient, ranked from highest to lowest, were Analytical ability determine the cause (PNI [modified] = 0.294) followed by Control and Solve a problem (PNI [modified] = 0.274) Responsibility for problems and Reach the impact (PNI [modified] = 0.249) and Endurance and Perseverance (PNI [modified] = 0.261), respectively. 2) There were 4 main approaches, 8 sub-approaches, and 33 procedures to develop teachers adversity quotient in school under Khangkoi Ruamjai. The main approaches were: (1) Developing analytical ability determine the cause skills by self-directed learning and action learning, (2) Developing control and solve a problem skill by self-directed learning and action learning, (3) Improving the morale of teachers by self-directed learning and action learning (4) developing endurance and perseverance in teacher by self-directed learning and action learning

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.