Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2020

Document Type

Independent Study

First Advisor

วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2020.159

Abstract

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบของมลพิษที่มีต่อชุมชนและ ประชาชนบริเวณรอบโรงไฟฟ้าอันเนื่องมาจากการตั้งโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและถ่านหินในพื้นที่ และศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของประเทศไทย ที่จะสามารถนำมาใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตไฟฟ้า ตลอดจนศึกษามาตรการทางภาษี เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากโรงผลิตไฟฟ้าของประเทศชิลี เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการนำมาปรับ ใช้สำหรับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือประชาชน และ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการตั้งโรงไฟฟ้า ในปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าก่อให้เกิดมลพิษมากมายที่เป็นอันตรายและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของประชาชน รวมทั้งทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะมีกองทุนพัฒนา ไฟฟ้า ตามมาตรา 97(3) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 ซึ่งเป็น เงินกองทุนเพื่อพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า แต่ก็ยังไม่ เพียงพอต่อการชดเชยความเสียหายของชุมชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบบริเวณท้องถิ่นต่างๆ ที่มี โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ ทั้งนี้โรงไฟฟ้าของภาครัฐ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจใน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นนิติบุคคลเฉพาะที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ในขณะที่ โรงไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ยังคงมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี จากการศึกษาการจัดเก็บ ภาษีมลพิษของประเทศชิลีพบว่าได้มีการจัดเก็บภาษีจากปริมาณการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม โดยมี การเรียกเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสารปนเปื้อนในท้องถิ่น โดยยกเว้นการ จัดเก็บภาษีจากแหล่งพลังงานชีวมวลเพื่อเป็นการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ซึ่งหลังจากที่มีการบังคับ ใช้ภาษีมลพิษในประเทศชิลีพบว่า ผู้ประกอบการมีแนวโน้มในการปรับพฤติกรรมโดยลดการปล่อย มลพิษลง ซึ่งสะท้อนได้จากจำนวนเงินภาษีที่จัดเก็บมีจำนวนลดลง ดังนั้นจึงเห็นว่าควรมีการศึกษาและนำแนวทางการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อลดการปล่อย มลพิษของประเทศชิลีมาประยุกต์ใช้กับกฎหมายไทย ซึ่งแม้ว่าในประเทศไทยจะไม่มีกฎหมายใดที่ให้ อำนาจในการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมโดยตรงอย่างประเทศชิลี แต่อย่างไรก็ดีผู้วิจัยมีความเห็นว่า ประเทศไทยสามารถนำเอาหลักการของกฎหมายของประเทศชิลีมาประยุกต์ใช้กับกฎหมายไทยได้ โดยให้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตภายใต้หลักการภาษีสิ่งแวดล้อมเพื่อจูงใจผู้ประกอบการพิจารณา นำเทคโนโลยีสะอาดมาปรับใช้เพื่อให้สามารถลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้น และใน ระยะยาวต่อไป รวมถึงนำรายได้จากภาษีเหล่านั้นมาสมทบกองทุนพัฒนาไฟฟ้าหรือจัดตั้งกองทุนเพื่อ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและช่วยเหลือ เยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปล่อยมลพิษของโรงไฟฟ้า

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.