Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effect of tele-rehabilitation program with weekly monitoring in post COVID-19 pneumonia patients
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
อมรพันธุ์ วงศ์กาญจนา
Second Advisor
ฑิมภ์พร วิทูรพงศ์
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.1034
Abstract
ที่มาและวัตถุประสงค์: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่หายจากภาวะปอดอักเสบภายหลังการติดเชื้อจํานวนมาก โดยส่งผลกระทบทั้งทางสุขภาพทางกายและจิตใจ ซึ่งการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเป็นวิธีที่มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูสุขภาพทางจิตใจและทางกายของผู้ป่วย แต่ด้วยข้อจำกัดการเข้าถึงระบบการรักษาดังกล่าวในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส จึงเป็นที่มาที่ทำให้เราตั้งใจศึกษาถึงผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกลที่มีการติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 วิธีการวิจัย: ผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 และผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมการศึกษา จะเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกล โดยจะได้รับคําแนะนําและสอนการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดจากแพทย์ผู้ทำการศึกษาและนักกายภาพบําบัดที่เกี่ยวข้องและนำไปฝึกและฟื้นฟูสมรรถภาพต่อที่บ้าน โดยจะมีการตรวจติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ทางไกลผ่านการวิดีโอคอลและทางโทรศัพท์ ผลของการศึกษาจะถูกประเมินวันแรกที่เข้าร่วมการศึกษาและที่ 3 เดือนภายหลังเข้าร่วมการศึกษา ซึ่งได้แก่การประเมินคุณภาพชีวิตโดยแบบสอบถามอีคิวไฟว์ดีไฟว์แอล, ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันประเมินโดยคะแนนดัชนีบาร์เทลอินเด็กซ์, คะแนนระดับความเหนื่อยขณะประเมินสมรรถภาพของผู้ป่วยโดยแบบประเมินโมดิฟาย บอร์ก สเกล และการประเมินสมรรถภาพทางกายโดยการวัดระยะทางที่ผู้ป่วยสามารถเดินได้ในระยะเวลา 6 นาที ส่วนการประเมินสมรรถภาพปอดใช้วิธีสไปโรเมตรีย์ โดยผลของการศึกษาจะถูกนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมการศึกษาในกลุ่มการศึกษาเดียวกันและเปรียบเทียบกับกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีตที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดโดยวิธีการจับคู่ทางสถิติ ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 15 คน ผลการศึกษาภายหลังเข้าร่วมการศึกษาครบ 3 เดือน คุณภาพชีวิต ความสามารถในการดำเนินชีวิตและผลการประเมินสมรรถภาพทางกายและปอด มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการเข้าร่วมการศึกษา อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติของผลการศึกษาภายหลังเข้าร่วมการศึกษาครบ 3 เดือนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีต ยกเว้นคะแนนคะแนนการประเมินสุขภาพทางตรงผ่านแบบสอบถามอีคิวไฟว์ดีไฟว์แอล ที่ประเมินโดยผู้เข้าร่วมการศึกษา มีแนวโน้มคะแนนที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มการศึกษา 96.6±6.95 เทียบกับ 87±9.02 ในกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีต สรุปผล: ผลกระทบที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นภายหลังการเข้ารับการศึกษา โดยการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีแนวโน้มช่วยลดความรู้สึกเหนื่อยในผู้ป่วยกลุ่มเหล่านี้ได้ ซึ่งอาจส่งผลช่วยป้องกันความเหนื่อยล้าและอาการเหนื่อยที่เกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระยะยาวได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Background: COVID-19 has affected many people and many COVID-19 pneumonia survivors suffered from physical and mental sequelae. Pulmonary rehabilitation is a promising method to improve patients' psychological and physical conditions. Method: We enrolled patients who recovered from COVID-19 pneumonia to our home pulmonary rehabilitation program. All participants were instructed by a trained physical therapist and continued home training, at least 3 times a week, for 3 months. Weekly tele-monitoring was done via video call. Outcomes were measured at baseline and at 3 months. Quality of life and disability were assessed by EQ-5D-5L questionnaire, Barthel index, and modified Borg scale. Physiologic outcomes were assessed by spirometry, 6-minute walk distance. All outcomes were compared between our cohort and a non-rehabilitation historical cohort adjusted by one-to-one propensity score matching. Results: 15 patients were enrolled, and all participants completed the rehabilitation program. At 3 months, all Quality of life, disability, and physiologic outcomes were significantly improved from baseline. However, there was no statistically significant difference in those outcomes at 3 months when compared with historical control. Only visual analog scale of EQ-5D-5L was better in rehabilitation than in control group (96.6±6.95 vs. 87±9.02, p-value<0.05). Conclusion: COVID-19 pneumonia patients recovered quite well at 3 months. Pulmonary rehabilitation seemed to improve dyspnea sensation in these patients which might helpfully prevent chronic fatigue or tiredness which is commonly found in patients with long COVID.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
แซ่เฉิน, วุฒิชัย, "ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกลที่มีการติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2019" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6744.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6744