Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of highly branched cyclic dextrin ingestion on running performance, glucoregulatory hormones, and metabolic responses among male long-distance runners

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

ณัติพร นกแก้ว

Faculty/College

Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.760

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการรับประทานไฮลี่บรานช์ไซคลิกซ์เดกซ์ทริน ต่อตัวแปรที่เกี่ยวข้องด้านสมรรถภาพในการวิ่ง ด้านฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้านสารชีวโมเลกุลในเลือด และด้านอาการแสดงของระบบทางเดินอาหารในนักกีฬาวิ่งมาราธอนเพศชาย การศึกษานี้เป็นการทดลองแบบไขว้ อำพรางฝ่ายเดียว และสุ่มลำดับ โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นนักวิ่งมาราธอนชายจำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างจะถูกสุ่มให้เข้าร่วมการทดสอบ 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่หนึ่ง ดื่มเครื่องดื่ม 500 มล. ที่มีส่วนประกอบเป็นไฮลี่บรานช์ไซคลิกซ์เดกซ์ทรินปริมาณ 1.5 ก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. และครั้งที่สอง ดื่มเครื่องดื่ม 500 มล. ที่มีส่วนประกอบมอลโทเดกซ์ทรินปริมาณ 1.5 ก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. กลุ่มตัวอย่างจะต้องดื่มเครื่องดื่มทั้งสองชนิดก่อนเริ่มการทดสอบแรก 30 นาที โดยการทดสอบแรกจะเป็นการวิ่งที่ความเร็ว ณ จุดเปลี่ยนแปลงการหายใจที่ 1 อย่างคงที่บนลู่กลเป็นเวลา 30 นาที ต่อมา กลุ่มตัวอย่างจะต้องเข้ารับการทดสอบที่ 2 โดยเป็นการเริ่มต้นวิ่งที่ความเร็วเดิมจากการทดสอบแรก จากนั้น ความเร็วจะถูกปรับเพิ่มขึ้น 0.5 กม.ต่อชม. ทุก 30 วินาที จนกว่ากลุ่มตัวอย่างจะเหนื่อยหมดแรง การศึกษานี้ทำการเก็บข้อมูลระยะเวลาในการออกกำลังกายจนเหนื่อยหมดแรง ระดับความรับรู้ต่อความเหนื่อยล้า ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การตอบสนองด้านเมทาบอลิก และอาการแสดงทางระบบทางเดินอาหารทั้งก่อนและหลังการทดสอบ โดยระยะเวลาในการออกกำลังกายจนเหนื่อยหมดแรงจะถูกวิเคราะห์ด้วยการทดสอบทีแบบจับคู่ ในขณะที่ ระดับอินซูลินในเลือด ระดับคอร์ติซอลในน้ำลาย ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับแลคเตทในเลือดจะถูกวิเคราะห์ด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบเกี่ยวข้องกันสองทาง และระดับความรับรู้ต่อความเหนื่อยล้า ระดับกรดไขมันอิสระในเลือด และอาการแสดงทางระบบทางเดินอาหารจะถูกวิเคราะห์ด้วยการทดสอบของฟรีดแมน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกตัวแปร ระหว่างการรับประทานไฮลี่บรานช์ไซคลิกซ์เดกซ์ทรินและมอลโทเดกซ์ทริน ทั้งนี้ การรับประทานไฮลี่บรานช์ไซคลิกซ์เดกซ์ทรินอาจมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นการหลั่งอินซูลินน้อยกว่า ซึ่งนำไปสู่ระดับกรดไขมันอิสระในเลือดที่สูงกว่า แม้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะถึงจุดยอดในเวลาเดียวกันก็ตาม สรุปผลวิจัย การรับประทานไฮลี่บรานช์ไซคลิกซ์เดกซ์ทรินในปริมาณ 1.5 ก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ก่อนวิ่งเป็นเวลา 30 นาที ไม่ช่วยพัฒนาสมรรถภาพในการวิ่ง รวมถึงการตอบสนองด้านฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การตอบสนองด้านเมแทบอลิก และอาการแสดงทางระบบทางเดินอาหารในกลุ่มนักกีฬาวิ่งมาราธอนเพศชาย เมื่อเทียบกับการรับประทานมอลโทเดกซ์ทรินในปริมาณ1.5 ก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ก่อนวิ่งเป็นเวลา 30 นาที

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This study aimed to investigate the effects of highly branched cyclic dextrin ingestion on running performance, glucoregulatory hormones, metabolic responses, and gastrointestinal (GI) symptoms in long-distance male runners. A randomized, single-blinded, crossover trial was conducted with seven well-trained runners. The participants were randomly assigned to two occasions: 1) ingested 500 ml fluid containing 1.5 g/kgBW of highly branched cyclic dextrin (HBCD), and 2) ingested 500 ml fluid containing 1.5 g/kgBW of maltodextrin (MDX). The running protocol consisted of a 30-minute run at a constant speed at ventilatory threshold 1 (VT1) on a motorized treadmill, followed by a second protocol where the speed was increased by 0.5 km/h every 30 seconds until exhaustion. Time to exhaustion (TTE), rate of perceived exertion (RPE), glucoregulatory hormones, metabolic responses, and GI symptoms were measured before and after the protocols. Paired t-tests were used to analyze TTE, while two-way repeated measures analysis of variance (ANOVA) was used to analyze serum insulin levels, salivary cortisol levels, blood glucose levels, and blood lactate levels. Friedman test was used to analyze RPE, serum free fatty acid levels, and GI symptoms. Statistical significance was set at p < .05 for all tests. The results indicated that there were no significant differences between HBCD and MDX in all variables examined. However, trends were observed suggesting that HBCD ingestion may lead to lower insulin secretion compared to MDX ingestion, resulting in higher serum free fatty acid levels. Interestingly, blood glucose levels reached their peak at the same time for both HBCD and MDX. In conclusion, the consumption of 1.5 g/kgBW of HBCD 30 minutes before exercise did not improve running performance, glucoregulatory hormones, metabolic responses, and GI symptoms in long-distance male runners compared to the consumption of 1.5 g/kgBW of MDX 30 minutes before exercise. Further research is needed to fully understand the potential effects of HBCD ingestion on these parameters.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.