Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Narrative, consumers’ involvement and purchasing intention toward skincare product review as science communication of beauty Youtuber

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

พนม คลี่ฉายา

Faculty/College

Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิเทศศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.609

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายวิธีการสื่อสารและการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ในการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของยูทูบเบอร์ด้านความงาม และอธิบายอิทธิพลของความถี่การเปิดรับการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การรับรู้ต่อการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ความชื่นชอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ และความเกี่ยวพันกับเนื้อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต่อการตัดสินใจซื้อ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกยูทูบเบอร์ความงาม จำนวน 1 ช่อง ได้แก่ GURUCHECK ร่วมกับการวิเคราะห์การเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ความงาม จำนวน 3 ช่อง ได้แก่ ingck GURUCHECK และ EB.Bahboh จำนวน 15 ตอน และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า การสื่อสารวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ด้านความงามประกอบด้วย ยูทูบเบอร์นำความเชี่ยวชาญของตนเองมานำเสนอเป็นเนื้อหาในรูปแบบคลิปวิจารณ์ โดยมีวิธีการสื่อสารแบบกึ่งเผยแพร่กึ่งสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นด้วยการสนทนนาผ่านการผลิตคลิปวิจารณ์และการเล่าเรื่องด้วยมุมมองทางวิทยาศาสตร์ผ่านยูทูบ ทั้งนี้ผลที่เกิดกับผู้ชมเป็นผลด้านความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาและการได้รับข้อมูลผลิตภัณฑ์ตามความต้องการ และพบว่าผู้ชมมีส่วนร่วมในการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผ่านการแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันเนื้อหาวิดีโอบนสื่อสังคม การเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ของยูทูบเบอร์ฯ พบว่า มีความสอดคล้องในด้านการใช้ภาษา สัญลักษณ์ และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชม มีการเล่าเรื่องผ่านตัวละครแบบผลิตภัณฑ์เป็นวีรบุรุษ ปัญหาสุขภาพผิวเป็นวายร้าย และผู้ชมเป็นเหยื่อ มีการสร้างปมปัญหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบำรุงรักษาผิวหรือการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว โดยดำเนินเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ แก่นเรื่องที่นำเสนอ ได้แก่ ทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุ-ปัจจัย และเช็คก่อนใช้ อ่านฉลากและส่วนผสมก่อนซื้อ ทั้งนี้มีการโน้มน้าวใจด้วยหลักฐานและการรับรองเหตุผลที่ใช้ประกอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างติดตามช่องยูทูบวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวในระดับมาก มีความถี่การรับชมการวิจารณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอยู่ที่ 2-3 วัน/สัปดาห์ การรับรู้ต่อการสื่อสารวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด ความชื่นชอบการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด ความเกี่ยวพันกับเนื้อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความเกี่ยวพันกับเนื้อทางวิทยาศาสตร์ (ß = 0.431) ความชื่นชอบตัวละคร (ß = 0.233) การรับรู้ต่อการมีส่วนร่วม (ß = 0.211) การรับรู้ต่อเนื้อหา (ß = - 0.144) การรับรู้ต่อผลการสื่อสาร (ß = 0.115) และความชื่นชอบการถ่ายทอดปัญหาและการดำเนินเรื่อง (ß = - 0.094) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this study aims to analyze and explain the science communication and science narrative used in skincare product reviews on YouTube and explore the influence of exposure frequency, perceived science communication, likability of science narrative, and Involvement in science message toward consumers' purchasing decisions. The research utilizes a mixed-methods approach, starting with qualitative research through in-depth interviews with one YouTube beauty influencer, namely GURUCHECK, along with the analysis of science narrative in three YouTube channels: ingck, GURUCHECK, and EB.Bahboh, consisting of 15 episodes. Additionally, quantitative research using a survey was conducted, collecting data from a sample group of 400 individuals. The qualitative research findings indicate that the science communication of beauty YouTubers comprises their expertise presented in the form of video reviews. They use a deficit and conversational approach and science narrative on YouTube. The impact on viewers includes knowledge, understanding of the content, and receiving product information based on their needs. Additionally, viewers actively participate in evaluating skincare products through commenting and sharing video content on social media. Regarding science narrative, it was found that there is consistency in language usage, symbols, and content relevant to the viewers. The narrative involves characters in which skincare product serves as the hero, skin issues act as the villains, and the viewers become the victims. The narratives often revolve around skincare maintenance or the analysis of product effectiveness, following a chronological order of events. Topics presented include causes and factors for skincare problems, checking before using, and reading labels and ingredients before purchasing. The narrative is supported by evidence to substantiate scientific claims. The survey findings reveal that the sample group, which had been following skincare product reviews on YouTube for more than three years, predominantly used YouTube as the primary platform for skincare product reviews. The frequency of watching skincare product reviews ranged from 2 to 3 days per week. perceived science communication, likability of science narrative, and involvement in science message is also at the highest level. Moreover, consumers’ purchasing decisions are at a high level.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.