Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การศึกษาเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยรอยโรคในปอดส่วนปลายระหว่างการใช้การดูเซลล์ขณะทำหัตถการส่องกล้องทางเดินหายใจและการส่องกล้องทางเดินหายใจและแปรงผนังหลอดลมตามปกติแบบสุ่ม ในผู้ป่วยที่มีรอยโรคหรือก้อนในปอดส่วนปลาย

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

Thitiwat Sriprasart

Second Advisor

Virissorn Wongsrichanalai

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Medicine

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.249

Abstract

BACKGROUND: Radial Probe Endobronchial Ultrasonography (RP-EBUS) guided transbronchial biopsy with bronchial brushing is an effective way of tissue assessment for evaluating peripheral lung lesion combined with Rapid on-site Evaluation (ROSE). Our study aimed to evaluate the efficacy of ROSE add on RP-EBUS guided sheath transbronchial lung biopsy to improve the overall diagnostic yield. OBJECTIVES: The purpose of this study was to compare the diagnosis yield of peripheral lung lesions or nodules from the ROSE add on Radial Probe Endobronchial Ultrasonography (RP-EBUS) guided sheath transbronchial biopsy with bronchial brushing compared to the control group. METHODS: In this prospective randomized controlled trial study. All patients age > 18 years old who diagnosed with peripheral lung lesions size < 3 cm. from chest computed tomography are randomized into 2 subgroups underwent RP-EBUS guided sheath transbronchial lung biopsy with bronchial brushing with and without using ROSE. The diagnostic yield was compared. RESULTS : 68 patients were enrolled. 34 patients were randomized equally to ROSE group and control group. The diagnostic yield was similar in both groups without statistically significant. There was no significant differences in baseline characteristic. There was a trend toward reduce the procedure durations and amount of sedatives used in the ROSE group with statistically significance difference (P=0.015 and P<0.001 respectively). Complications rates in both groups are not different. CONCLUSION: The diagnostic yield of peripheral lung lesions was similar in ROSE add on RP-EBUS and RP-EBUS alone. However routine use of ROSE in RP-EBUS guided sheath transbronchial biopsy with bronchial brushing associated with a reducing in procedure times and decreased amount of sedative use. We recommended ROSE add on RP-EBUS in selected cases. Our study could be applicable only in experienced center which available intervention pulmonologists and cytologists.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

ความสำคัญและที่มา : การตรวจพบรอยโรคหรือก้อนในปอดส่วนปลายโดยการถ่ายภาพรังสีทรวงอกแม้ว่ารอยโรคเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่ใช่มะเร็ง แต่ก็พบว่าเป็นมะเร็งได้บ่อย อัตราการรอดชีวิตของมะเร็งปอดนั้นแตกต่างกันไปตามขนาดของก้อนและระยะของโรค การส่องกล้องหลอดลมด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์ (Radial Probe Endobronchial Ultrasonography, RP-EBUS) ช่วยเพิ่มความไวในการวินิจฉัยรอยโรคในปอดส่วนปลาย เเละการนำวิธีการดูเซลล์ระหว่างการทำหัตถการมาใช้ร่วมกับการส่องกล้อง (Rapid on-site Evaluation, ROSE) มีการศึกษาก่อนหน้าพบว่าสามารถเพิ่มความสามารถในการวินิจฉัยได้แต่ผลการศึกษายังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันจึงเป็นที่มาของการศึกษาความสามารถในการวินิจฉัยรอยโรคในปอดส่วนปลาย วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยรอยโรคหรือก้อนในปอดส่วนปลายจากการใช้การดูเซลล์ขณะทำหัตถการส่องกล้องทางเดินหายใจร่วมกับการส่องกล้องทางเดินหายใจเพื่อตัดเก็บชิ้นเนื้อและแปรงผนังหลอดลมในปอดส่วนปลายเทียบกับกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย : ผู้ป่วยทุกรายที่อายุมากกว่า 18 ปี ที่ตรวจพบรอยโรคของปอดขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 ซม. จากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกจะถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่มย่อยตามขนาดของก้อนในปอดจากนั้นอาสาสมัครในแต่ละกลุ่มจะถูกนำมาทำการสุ่มต่ออีกลำดับเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองคือใช้ ROSE ร่วมกับการส่องกล้อง และกลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้ROSE ผลของงานวิจัย : ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 68 คนถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 34 คนแบบสุ่ม ข้อมูลพื้นฐาน และ ตำแหน่งของรอยโรคในปอดของผู้เข้าร่วมวิจัยทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ผลของงานวิจัยพบว่าความสามารถในการวินิจฉัยรอยโรคในปอดส่วนปลายไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้พบว่าเวลาที่ใช้ในการทำหัตถการและปริมาณยานอนหลับและยาแก้ปวดที่ใช้ในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.015 และ P<0.001 ตามลำดับ) บทสรุปผลการวิจัย : การส่องกล้องทางเดินหายใจชนิด RP-EBUS ร่วมกับการใช้การดูเซลล์ระหว่างการทำหัตถการ(ROSE) มีความสามารถในการวินิจฉัยรอยโรคในปอดส่วนปลายไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมแต่สามารถช่วยลดเวลาในการทำหัตถการและลดปริมาณยานอนหลับและยาแก้ปวดที่ใช้ระหว่างการทำหัตถการได้ จากผลของงานวิจัยจึงแนะนำให้ใช้ROSEในเคสที่เหมาะสมเช่นในผู้ป่วยที่ต้องการลดเวลาการทำหัตถการหรือต้องการใช้ปริมาณยานอนหลับและยาแก้ปวดในปริมาณน้อยลง อย่างไรก็ตามวิจัยนี้ทำในโรงพยาบาลที่มีแพทย์โรคปอดผู้เชี่ยวชาญและมีนักเซลล์วิทยาที่มีความชำนาญการซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดในการนำผลของงานวิจัยไปใช้ ในอนาคตอาจพัฒนางานวิจัยโดยการเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยและทำในโรงพยาบาลหลายๆระดับต่อไป

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.