Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Sleep-related worry and sleep hygiene in depressed outpatients at Department of Psychiatry, King Chulalongkorn Memorial Hospital

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Psychiatry (ภาควิชาจิตเวชศาสตร์)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สุขภาพจิต

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.1086

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับ สุขอนามัยการนอน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาในแบบผู้ป่วยนอกแผนกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปและได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์หรือแพทย์ประจำบ้านแผนกจิตเวชศาสตร์ โดยใช้เกณฑ์วินิจฉัย DSM IV-TR หรือ DSM-5 ว่าเป็นโรคซึมเศร้าหลัก หรือโรคซึมเศร้าเรื้อรัง หรือโรคซึมเศร้าที่ไม่สามารถระบุได้ จำนวน 144 คน โดยใช้แบบสอบถามรวมทั้งหมด 4 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า แบบสอบถามปัจจัยเกี่ยวกับการนอนหลับ แบบประเมินความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับ จากนั้นผู้วิจัยได้บันทึกข้อมูลแบบกรอกข้อมูลทางการแพทย์ ผ่านเวชระเบียนของโรงพยาบาล ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ประเภทของโรคซึมเศร้าที่ได้รับการวินิจฉัย ระยะเวลาที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และยาต้านเศร้าที่ได้รับ และใช้สถิติเชิงพรรณนา Mann-Whitney U Test Kruskal-Wallis Test และ Spearman’s rank correlation โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ย(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับและสุขอนามัยการนอน เท่ากับ 56.95(26.99) และ 34.79(15.39) ตามลำดับ ค่ามัธยฐาน(ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์) ของความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับและสุขอนามัยการนอน เท่ากับ 61.00 (33.5-77.8) และ 32.00 (24.0-45.0) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับ ได้แก่ การปฏิบัติสุขอนามัยการนอนหลับที่ไม่ดี (p<0.01) ระยะเวลาเข้าสู่ภาวะหลับที่นานกว่าปกติ (p<0.001) อาการรบกวนขณะหลับ(p<0.001) อาการง่วงหลับระหว่างวัน (p<0.001) ประสิทธิภาพการนอนหลับต่ำ (p<0.001) การคงอยู่ของอาการโรคซึมเศร้า(p<0.001) และปริมาณการนอนหลับที่ได้รับ (p<0.001) สรุปผลการศึกษา: ความวิตกกังวลเรื่องการนอนหลับในผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความเกี่ยวข้องกับสุขอนามัยการนอนหลับที่ปฏิบัติ ซึ่งการให้ความรู้ด้านสุขอนามัยการนอนสามารถส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับ และผ่อนคลายความวิตกกังวลเรื่องการนอนได้ อันจะส่งผลดีต่อการรักษาโรคซึมเศร้า

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Objective: To study sleep-related worry, sleep hygiene and associated factors of sleep-related worry in patients with depressive disorders in Psychiatric Outpatient Department, KCMH. Methods: We recruited 144 patients aged 18 years and above and they were diagnosed either as major depressive disorder or persistent depressive disorder or unspecified depressive disorder using DSM IV-TR or DSM-5 criteria. All participants completed 4 questionnaires: demographic questionnaires, the Anxiety and Preoccupation about Sleep Questionnaire (APSQ), the Sleep Hygiene Awareness and Practice Scale (SHAPS) and the Quick Inventory of Depressive Symptomatology (QIDS SR-16). Subsequently, the researcher obtained data on type of depressive disorder, duration of depression treatment at KCMH. and current antidepressants. Data analysis using the SPSS software for Window 22.0 (Chulalongkorn University). Sleep-related worry and sleep hygiene practice were presented with median score (with IQR). The associated factors of sleep-related worry (sleep-related factors, depressive disorder-related medical information) were analyzed by Mann-Whitney U test, Kruskal-Wallis test and Spearman’s ranked correlation coefficient. All statistical analyses were two-tailed with α =0.05 as the significance level. Results: The mean(SD) of sleep-related worry and sleep hygiene were 56.95(26.99) and 34.79(15.39) respectively. The median scores (with IQR) of sleep-related worry and sleep hygiene were 61.00 (33.5-77.8) and 32.00 (24.0-45.0) respectively. Factors associated with sleep-related worry were lower sleep hygiene practice (p<0.01), late sleep onset latency (p<0.001), sleep disturbances (p<0.001), excessive daytime sleepiness (p<0.001), low sleep efficiency (p<0.001), the existence of depressive symptoms (p<0.001), and sleep duration less than 8 hours (p<0.001). Conclusion: Sleep-related worry in Thai patients with depressive disorder was positively correlated with sleep hygiene practices. The sleep hygiene psychoeducation program may promote better sleep quality, relieve sleep-related worry, reducing patients’ depressive symptoms.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.