Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ศิลาเคมีของหินอัคนีแทรกซอนในบริเวณอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

Abhisit Salam

Faculty/College

Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)

Department (if any)

Department of Geology (ภาควิชาธรณีวิทยา)

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Geology

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.228

Abstract

In Thailand, alkaline granitoid rocks are less widespread and crop out in less extend as small stocks or plutons. The study areas are located in 2 vicinities of Tha Takiap and Mae Yan areas which respectively are a part of the eastern and central granite belts. Petrographic study of the rocks from both areas show that alkaline feldspar is the principal mineral phase with small amount of quartz and plagioclase. Compositionally, the investigated rocks fall in the range of alkali feldspar syenite to quartz-alkali feldspar syenite. High concentration of Na2O+K2O and high ratio of FeOtot/(FeOtot+MgO) vs SiO2 indicate that most of the rocks from both areas are syenite and ferroan granite respectively. High ratio of Ga/Al and Y/Nb suggest that the rocks from both areas belong to A2 subtype of A-type granite category. These rocks originated from alkaline magmatism related to extensional tectonic setting. Flat chondrite-normalized REE pattern and positive anomaly of Ta on primitive mantle-normalized spider diagrams are resemble to those of Xiaolonghe granite, southwestern China. These similarities imply that the genesis of Tha Takiap syenitic rocks is related to back-arc extension tectonic setting and the magmatic source is mainly influenced by mantle-derived material. On the other hand, the enrichment of LREE on the chondrite-normalized REE patterns of Mae Yan syenitic rocks and positive anomalies of Th, U, and Pb as well as negative anomalies of Nb and Ta on the primitive mantle-normalized diagrams indicate that the dominant source of partial melting could be derived from continental crust related to subduction tectonic comparable to, post-collisional potassic rock in Xungba basin, southern Tibet.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

หินแกรนิตชนิดอัลคาไลน์มีการกระจายตัวไม่มากนักในประเทศไทย โดยจะพบในลักษณะเป็นพลูตอนขนาดเล็ก พื้นที่ศึกษา ได้แก่ พื้นที่ท่าตะเกียบ และพื้นที่แม่ยาน จัดอยู่ในแนวหินแกรนิตตะวันออกและแนวหินแกรนิตตอนกลางตามลำดับ ผลการศึกษาศิลาวรรณนาจากตัวอย่างหินของทั้งสองพื้นที่พบว่าประกอบด้วยแร่แอลคาไลเฟลด์สปาร์เป็นหลัก มีแร่ควอตซ์และแพลกจิโอเคลสน้อยมาก จึงสามารถจำแนกหินของทั้งสองพื้นที่ดังกล่าวได้เป็นหินแอลคาไลเฟลด์สปาร์ไซอีไนต์ (alkali-feldspar syenite) ถึงหินแอลคาไลเฟลด์สปาร์ควอตซ์ไซอีไนต์ (alkali-feldspar quartz syenite) ผลการศึกษาธรณีเคมีด้วยปริมาณผลรวมของโซเดียมออกไซด์กับโพแทสเซียมออกไซด์ (Na2O+K2O) และอัตราส่วนของเหล็กออกไซด์ต่อผลรวมของเหล็กออกไซด์กับแมกนีเซียมออกไซด์ (FeOtot/FeOtot+MgO) บ่งชี้ว่าหินดังกล่าวสามารถจำแนกได้เป็นหินไซอีไนต์ และหินแกรนิตชนิดเฟอร์โรน (ferroan granite) ตามลำดับ นอกจากนั้นอัตราส่วนที่สูงของธาตุแกลเลียมต่อธาตุอะลูมินัม (Ga/Al) และธาตุอิตเทรียมต่อธาตุไนโอเบียม (Y/Nb) ยังบ่งชี้ว่าหินจากทั้งสองพื้นที่เป็นหินแกรนิตชนิด A-type และสามารถแบ่งย่อยได้เป็นชนิดย่อย A2 ซึ่งหินดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับแมกมาชนิดแอลคาไลน์ และมีความสัมพันธ์กับลักษณะธรณีแปรสัณฐานแบบขยาย (extensional tectonic) จากลักษณะของกราฟสัดส่วนธาตุหายากต่อคอนไดรต์ (chondrite-normalized REE pattern) ที่ค่อนข้างราบ และมีค่าผิดปกติเชิงบวกที่ตำแหน่งของธาตุแทนทาลัม (Ta) ในกราฟสัดส่วนธาตุร่องรอยต่อเนื้อโลกแบบดั้งเดิม (primitive mantle normalized spider diagrams) บ่งชี้ว่าต้นกำเนิดแมกมาของหินไซอีไนต์ในพื้นที่ท่าตะเกียบได้รับอิทธิพลจากวัสดุที่กำเนิดจากเนื้อโลกเป็นหลัก และอนุมานได้ว่ามีการเกิดสัมพันธ์กับลักษณะธรณีแปรสัณฐานแบบขยายด้านหลังแนวภูเขาไฟ (back-arc) ซึ่งเทียบเคียงได้กับชุดหินแกรนิตเซี่ยวหลงเหอ (Xiaolonghe granite) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ขณะที่หินไซอีไนต์จากพื้นที่แม่ยานแสดงลักษณะความสมบูรณ์ของธาตุหายากเบาในกราฟสัดส่วนธาตุหายากต่อคอนไดรต์ และแสดงค่าผิดปกติเชิงบวกที่ตำแหน่งของธาตุทอเรียม (Th) ยูเรเนียม (U) และตะกั่ว (Pb) และ ค่าผิดปกติเชิงลบของธาตุไนโอเบียม (Nb) และธาตุแทนทาลัม (Ta) ในกราฟสัดส่วนธาตุร่องรอยต่อเนื้อโลกแบบดั้งเดิมที่ เทียบเคียงได้กับชุดหินโพแทสเซียมสูง (potassic rock) บริเวณแอ่งซุงบา (Xungba basin) ทางตอนใต้ของทิเบต ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกทวีป ซึ่งบ่งบอกว่าหินไซอีไนต์ในพื้นที่แม่ยานเกิดขึ้นภายหลังการชนกันของแผ่นเปลือกโลกทวีป และก่อกำเนิดจากการหลอมละลายบางส่วน (partial melting) ของแผ่นเปลือกโลกที่เกิดสัมพันธ์กับธรณีแปรสัณฐานแบบมุดตัว

Included in

Geology Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.