Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effect of Therapeutic Art on improvement of self-esteem and self-control of Former offenders at the Christian Prison Ministry Foundation

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Psychiatry (ภาควิชาจิตเวชศาสตร์)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สุขภาพจิต

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.1547

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของศิลปะบำบัดต่อการเพิ่มระดับการเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองของอดีตผู้กระทำความผิดในมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน โดยเปรียบเทียบความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองภายในกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม ระหว่างก่อนและหลังได้รับศิลปะบำบัด และเปรียบเทียบความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 22 คน ถูกแบ่งกลุ่มโดยใช้วิธีการจัดแบ่งกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มละ 11 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับศิลปะบำบัดจำนวน 10 กิจกรรม เป็นเวลา 10 สัปดาห์ (สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ½ ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 15 ชั่วโมง) ส่วนกลุ่มควบคุมเข้าร่วมกิจกรรมของมูลนิธิฯ ตามเวลาปกติคือ ใช้เวลาตามอัธยาศัยในการอ่านหนังสือ และซ้อมดนตรี การศึกษานี้ใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิทธิ์ และแบบสอบถามการควบคุมตนเอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ Fisher’s Exact test ,Wilcoxon signed ranks test และ Mann-Whitney test ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าอดีตผู้กระทำความผิดในกลุ่มทดลองหลังจากได้รับศิลปะบำบัดมีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ และมีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองเพิ่มสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองเมื่อสิ้นสุดการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองเล็กน้อย แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองเพิ่มสูงขึ้นหลังได้รับศิลปะบำบัด และมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองเพิ่มสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับศิลปะบำบัด

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This randomized controlled trial was designed to assess the potential therapeutic effect of art therapy on self-esteem and self- control of former offenders. A total of 22 former offenders were randomized to either the intervention group (N=11) that received art therapy 10 sessions for 10 weeks (once a week, 1 hour and 30 minutes per session, total 15 hours), or the control group (N=11) that received typical services (participated in The Christian Prison Ministry Foundation’s usual activities including reading and musical instrument practice). The Cooper smith Self-Esteem Inventory Adult Form and Self-Control Scale (Tangney) were used for assessing self-esteem and self-control before and 12 weeks after the start of the study. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, Fisher’s exact test, Wilcoxon signed ranks test and Mann-Whitney test. The findings of this study were intervention group after receiving art therapy had significantly higher scores of self-esteem and self-control than before the experiment (p<0.05) and also than the control group (p<0.05) while no significant change was found in the control group. The results demonstrated that art therapy showed a significant increase in self-esteem and self-control and more effective for improvement on self-esteem and self- control of former offenders than usual activities.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.