Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : กลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือน (Hand-armvibration syndrome: HAVs) เกิดจากการสัมผัสแรงสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านมือและแขนเป็นระยะเวลานาน ก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง หลอดเลือด และประสาทของแขนและมือกลุ่มอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะสัมผัสแรงสะเทือนที่มือและแขนจากรถจักรยานยนต์ที่มากเกินมาตรฐานตลอดเวลา ดังนั้นการศึกษาอาการนี้ในกลุ่มอาชีพนี้จึงมีความสำคัญวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของกลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากการสั่นสะเทือนในกลุ่มผู้ขับขี่จักรยานยนต์สาธารณะวิธีการทำวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บข้อมูลในผู้มีอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานครจำนวน 401 รายที่ถูกเลือกมาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามเท่ากับร้อยละ 100 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธี Backward stepwiselogistic regressionผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 93.8 อายุเฉลี่ย40.1 ± 11.0 ปี น้ำหนักตัวเฉลี่ย 67.9 ± 11.4 กิโลกรัม ค่ามัธยฐานของจำนวนผู้โดยสารต่อวัน 48.0 ราย [IQR = 30.0, 50.0] ค่ามัธยฐานของระยะเวลาที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง 6 ปี[IQR = 3.0, 12.0] ร้อยละ 68.8 สวมถุงมือระหว่างการขับขี่ ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 49.1 ของกลุ่มตัวอย่างพบกลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือน อาการที่เด่นชัดมากที่สุด คือ อาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือ มือ แขน ข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อศอก(ร้อยละ 26.4) รองลงมาคือ นิ้วมือชา เสียวซ่า ๆ แปลบ ๆ ต่อเนื่องเกิน20 นาที (ร้อยละ 24.2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการ HAVs ได้แก่สภาพถนนขรุขระมาก (ORadj = 3.42, 95% CI = 1.28 - 9.12)การสวมถุงมือ (ORadj = 1.85, 95% CI = 1.16 - 2.95) รถจักรยานยนต์เกียร์อัตโนมัติ (ORadj = 1.60, 95% CI = 1.00 - 2.54) อายุ(ORadj = 1.02, 95% CI = 1.00 - 1.05) และจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน (ORadj= 1.01, 95% CI = 1.00 - 1.02)สรุป กลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานคร แสดงลักษณะอาการของ HAVs เกือบร้อยละ 50 ดังนั้นหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรมีแนวทางการดูแลตนเองและแนวทางการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการ HAVs เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากการทำงานให้กลุ่มอาชีพต่อไป.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.62.6.7
First Page
1001
Last Page
1012
Recommended Citation
ตำหนักโพธิ, มารุต and เฮงพระพรหม, สรันยา
(2018)
"กลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานคร,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 62:
Iss.
6, Article 9.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.62.6.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol62/iss6/9