Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย :เวลาในการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ เป็นตัวบ่งชี้สำคัญของการมีสมรรถภาพทางกายที่ดี คณะผู้วิจัยจึงสนใจประดิษฐ์โปรแกรมอย่างง่ายสำหรับวัดเวลาในการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันโดยสามารถวัดได้ทั้งระยะใกล้และไกลโดยใช้ระบบรับสัญญาณแบบไร้สาย โปรแกรมนี้ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิจัยทางคลินิกที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและการประเมินการเคลื่อนไหวของร่างกายวัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมสำหรับวัดเวลาในการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวันวิธีการทำวิจัย : ทำการทดสอบความเที่ยงตรง (validity) และความน่าเชื่อถือ (reliability)ของโปรแกรมสำหรับวัดเวลาในการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวันในอาสาสมัครที่มีอายุอยู่ระหว่าง 18 - 60 ปี จำนวน 40 รายผลการศึกษา : พบว่าโปรแกรมวัดเวลาในการเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้นนี้เมื่อเปรียบเทียบกับโปรแกรมจับเวลามาตรฐานมีความเที่ยงตรงอยู่ในระดับสูงมาก(ICC (3, 1) = 1.00, P <0.001) เมื่อทดสอบความน่าเชื่อถือของโปรแกรมสำหรับวัดเวลาในการเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้น พบว่ามีความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำอยู่ในระดับปานกลางถึงสูงมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะกิจกรรมที่ทดสอบ กิจกรรมที่ใช้เวลาในการทำน้อย ได้แก่การยื่นมือไปแตะเป้าหมายข้างหน้า มีความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำอยู่ในระดับปานกลาง (ICC (3, k) = 0.636, P <0.001) แต่กิจกรรมที่ใช้เวลาทำนานมีความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำสูง ได้แก่ การลุกขึ้นยืน(ICC (3, k) = 0.759, P <0.001) และการเดิน (ICC (3, k) = 0.986,P <0.001)สรุป : โปรแกรมและอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้สามารถนำไปใช้วัดเวลาในการเคลื่อนไหวใน 3 กิจกรรม คือ การยื่นมือแตะเป้าหมายข้างหน้าการลุกขึ้นยืน และการเดิน ได้อย่างเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.62.6.4
First Page
965
Last Page
974
Recommended Citation
ศรีสุภรกรกุล, กนกวรรณ; จรเกตุ, ไชยยงค์; วาดเขียน, ปราโมทย์; สินไชย, ศักรินทร์; บุณยารมย์, อรอุมา; and สมถวิล, สมภิยา
(2018)
"การทดสอบโปรแกรมสำหรับวัดเวลาการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 62:
Iss.
6, Article 6.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.62.6.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol62/iss6/6