Abstract
การเติมไขมัน (lipofilling) หรือการปลูกถ่ายไขมัน (fat grafting) เป็นเทคนิคที่แพร่หลายมากขึ้นในทางศัลยกรรมตกแต่ง การเติมไขมันได้ผลการรักษาที่เป็นธรรมชาติ ไขมันที่ได้รับการปลูกถ่ายสามารถคงอยู่ในระยะยาวเสมือนว่าเป็นเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ข้อเสียที่สำคัญของการเติมไขมัน คือ การไม่สามารถคาดคะเนปริมาตรของไขมันที่จะสลายไปได้ ซึ่งอยู่ในช่วงร้อยละ 25 – 80จึงมีความพยายามในการใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การปั่นเหวี่ยง และเทคนิคอื่น ๆ ที่พยายามเพิ่มปริมาณของ adipose tissue-derived mesenchymal stem cells (ASC) ที่ช่วยให้ผลลัพธ์ของการรักษาดีขึ้นโดยเพิ่มหลอดเลือดที่มาเลี้ยงเนื้อเยื่อไขมันหลังการปลูกถ่าย ซึ่งทำให้เนื้อเยื่อไขมันสามารถคงอยู่ได้ในบริเวณที่ได้รับการปลูกถ่ายและลดไขมันที่จะสลายไป แผลเป็นที่เกิดจากไฟไหม้ทำให้ลักษณะของรอยโรคไม่สวยงามและยังทำให้เกิดการดึงรั้ง ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้อยลงการรักษาดั้งเดิมทางศัลยกรรมในการแก้ไขการดึงรั้ง คือ Z plasty หรือการทำ graft ผิวหนัง และ flapซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดแผลเป็นและมีความเสี่ยงต่อการเกิดการดึงรั้งขึ้นอีกครั้ง การรักษาโดยการเติมไขมันจึงเป็นการรักษาทางเลือกหนึ่งในแก้ไขการดึงรั้ง ความเข้าใจตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงหลังการรักษาตั้งแต่ระดับเซลล์และจุลกายวิภาค จนถึงการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ ในผลลัพธ์ทางคลินิกมีความสำคัญต่อขั้นตอนการรักษาทั้งการเก็บไขมัน การเตรียมไขมัน การปลูกถ่าย และจะทำให้การรักษาด้วยการเติมไขมันสำหรับแผลเป็นจากไฟไหม้และการดึงรั้งประสบความสำเร็จ.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.62.6.11
First Page
1049
Last Page
1065
Recommended Citation
สุวะโจ, พูนพิศมัย and ทัศนะบรรจง, ภีรเดช
(2018)
"การเติมไขมันตนเองเพื่อแก้ไขแผลเป็นจากไฟไหม้และการดึงรั้ง,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 62:
Iss.
6, Article 13.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.62.6.11
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol62/iss6/13