Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เป็นอาชีพหนึ่งที่มีลักษณะการทำงานและการดำเนินชีวิต ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิตและความเหนื่อยล้า อีกทั้งในประเทศไทยยังมีข้อมูลเรื่องภาวะซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินน้อยมากวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า ความเหนื่อยล้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่งในประเทศไทยวิธีการทำวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่งในประเทศไทย จำนวน 405 ราย ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ (Insomnia Severity Index)แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต Depression Anxiety Stress Scale(DASS-21) ฉบับภาษาไทย แบบประเมินความเหนื่อยล้า Revised-Piper Fatigue Scale (R-PFS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์ ไคสแควร์ ค่าความเสี่ยงและช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณด้วยแบบจำลองลอจิสติกผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพจิตด้านซึมเศร้าอยู่ในระดับเล็กน้อย(ร้อยละ 16.3) มีความเหนื่อยล้าอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.8)เมื่อวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ พบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความเหนื่อยล้าในระดับปานกลาง (ORadj = 12.18:95%CI = 3.70 – 40.12), ความเหนื่อยล้าในระดับรุนแรง(ORadj = 20.50: 95%CI = 4.67 – 89.9), และปัญหาการนอนหลับ(ORadj = 1.14: 95%CI = 1.07 – 1.21)สรุป : ผู้บริหารควรตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจิตและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน อาจจัดให้มีการเพิ่มการตรวจสุขภาพจิตประจำปี และควรจัดให้มีกิจกรรมการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต เพื่อให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินได้รู้จักวิธีการจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.62.6.9
First Page
1023
Last Page
1035
Recommended Citation
บุญพาณิชย์, ปณิตา; กัลยาศิริ, รัศมน; and บัวทอง, ณภัควรรต
(2018)
"ภาวะซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในประเทศไทย,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 62:
Iss.
6, Article 11.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.62.6.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol62/iss6/11