•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการ ควรยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงพึงพอใจตนเองรับรู้ และพร้อมที่จะเผชิญปัญหาทั้งด้านร่างกายจิตใจอารมณ์และสังคม สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข ทั้งนี้เพราะเป็นช่วงวัยสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาเรื่องดังกล่าวเพื่อนำผลการวิจัยใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการมีความสุขวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการและเพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และวิถีชีวิต กับความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการวิธีการทำวิจัย : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 93 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simplerandom sampling) จากผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ (mailed questionnaire) ด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบบประเมินความสุขของ Oxford และแบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิธ (Coopersmith,1981) มีค่าความ เชื่อมั่นดังนี้ความสุข 0.74 ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 0.74 และวิถีชีวิต 0.60การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ(percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standarddeviations) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน (Pearson’s product moment correlationcoefficient)ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างไม่ระบุเจาะจงว่ามีความสุขหรือไม่มีความสุขร้อยละ 63.4,รองลงมาค่อนข้างไม่มีความสุขและค่อนข้างมีความสุขร้อยละ 35.5และร้อยละ 1.1 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.581) วิถีชีวิตด้านการประกอบอาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.291) วิถีชีวิตด้านการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.277) และอายุมีความสัมพันธ์ทางลบ(r = – 0.218) ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความสุข(P >0.05) ได้แก่ วิถีชีวิตโดยรวม วิถีชีวิตด้านการรับประทานอาหารด้านการดูแลสุขภาพด้านร่าง กายและด้านจิตใจ ด้านการช่วยเหลือสังคมในชีวิตประจำวัน เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสายงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความพอเพียงของรายได้ และสวัสดิการสุขภาพสรุป : หน่วยงานรัฐบาลควรมีระบบดูแลส่งเสริมกลุ่มตัวอย่างให้มีความสุขเพิ่มขึ้น โดยส่งเสริมให้มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีการออกกำลังกาย มีการประกอบอาชีพ.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.62.5.5

First Page

815

Last Page

830

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.