•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ห้องปฏิบัติการเป็นพื้นที่หนึ่งของโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีสิ่งคุกคามอันตรายหลายชนิดที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มีความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงได้มากกว่าพื้นที่อื่น เนื่องจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย และอุปกรณ์ที่ใช้มีความซับซ้อน ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตัวเองและส่วนรวมได้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติตามแนวทางด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และศึกษาระดับความรู้เรื่องความปลอดภัยรวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายของบุคลากรในห้องปฏิบัติการวิธีการทำวิจัย : รวบรวมข้อมูลจากบุคลากรในห้องปฏิบัติการจำนวน 146 รายเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง และเดินสำรวจห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ 12 ห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ข้อมูล โดยใช้สถิติ Fisher’s exact testผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 50.7 มีระดับความรู้เรื่องความปลอดภัยรวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยด้านอายุตำแหน่งวิชาชีพ ระดับการศึกษา และระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ด้านความปลอดภัย รวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) จากการสำรวจห้องปฏิบัติการพบสิ่งคุกคามส่วนใหญ่ เป็นสิ่งคุกคามทางชีวภาพและสิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ การประเมินความเสี่ยงขั้นตอนการทำงานแต่ละแผนกพบความเสี่ยงน้อยถึงปานกลางห้องปฏิบัติการที่มีสภาพความปลอดภัยน้อยที่สุดคือ ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา และห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่ขาดความสมบูรณ์ของเอกสารความปลอดภัยสรุป : จากการศึกษาพบว่าควรพัฒนาระดับด้านความรู้โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย รวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย และพัฒนาสภาพด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

773

Last Page

784

Share

COinS