Abstract
โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซี พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องการวินิจฉัย และให้การรักษาอย่างทันท่วงที สามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อน เช่นภาวะหายใจล้มเหลวฉับพลัน และลดอัตราตายได้ เนื่องจากอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซี ไม่เฉพาะเจาะจง การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยการตรวจพบเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซี หรือการตรวจพบดีเอ็นเอของเชื้อดังกล่าวในสิ่งส่งตรวจจากระบบทางเดินหายใจ ทางห้อง ปฏิบัติการ การตรวจทางกล้องจุลทรรศน์โดยวิธีย้อมสีต่าง ๆ สามารถให้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยได้มาก แต่อาจไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้ในกรณีที่มีปริมาณเชื้อไม่มากพอ การตรวจโดยวิธีทางน้ำเหลืองวิทยา เช่น การตรวจแอนติบอดีต่อ (1-3)-beta-D-glucan (BDG), lactatedehydrogenase (LDH), S-adenosylmethionine และ major surface glycoprotein (MSG) ของเชื้อดังกล่าว เป็นต้น การตรวจทางภาพรังสีปอด คลื่นเสียงความถี่สูง มีประโยชน์ในแง่ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยและรักษา มีรายงานความไวและความจำเพาะของวิธีการตรวจเหล่านี้แตกต่างกันในหลายการศึกษา และยังไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่จำเพาะเจาะจงเพียงพอสำหรับการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซี จึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลการตรวจจากหลายวิธีการร่วมกันมีรายงานเกี่ยวกับความสำเร็จในการเพาะเชื้อชนิดนี้ในห้องทดลอง ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเข้าใจชีววิทยาและการดำเนินโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซีต่อไปในอนาคต.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.62.5.10
First Page
879
Last Page
890
Recommended Citation
ธีรนัยพงศ์, ไพโรจน์
(2018)
"แนวทางการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซีในปัจจุบัน,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 62:
Iss.
5, Article 12.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.62.5.10
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol62/iss5/12