Abstract
สุขศึกษานับว่ามีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาสุขภาพของชุมชน เนื่องจากสุขศึกษาเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้บุคคลและชุมชนมีความรู้ มีทัศนคติที่ดีต่อสุขภาพและสามารถปฏิบัติตนเพื่อการมีสุขภาพที่ดี อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์และการสาธารณสุข ในศตวรรษที่ 21 ประชาชนยังต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาจากโรคที่สามารถป้องกันได้ (preventable diseases) ในยุคนี้จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงผลการเรียนรู้ทางสุขภาพของชุมชนและระบบการสนับสนุน โดยที่ผลการเรียนรู้ทางสุขภาพของชุมชนจะเน้นในเรื่องความฉลาดด้านสุขภาพ (health literacy) ความฉลาดด้านสิ่งแวดล้อม (environmentalliteracy) การพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพการงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะด้านข้อมูล ข่าวสาร สื่อ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ส่วนด้านระบบการสนับสนุนนั้นจะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ มาตรฐานและการประเมินทางสุขศึกษา วิธีการให้สุขศึกษาในชุมชนการพัฒนาวิชาชีพทางสุขภาพ และการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ทางสุขภาพ
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.62.5.9
First Page
871
Last Page
878
Recommended Citation
วัฒนบุรานนท์, เอมอัชฌา and ปิยะอร่ามวงศ์, ปัณณวิชญ์
(2018)
"สุขศึกษากับการพัฒนาสุขภาพในศตวรรษที่ 21,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 62:
Iss.
5, Article 11.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.62.5.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol62/iss5/11