•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะเท้าแบน (flatfoot หรือ pes planus) เป็นภาวะผิดปกติของอุ้งเท้าชนิดหนึ่งที่ควรได้รับการตรวจคัดกรอง และการทราบปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะนี้อาจนำไปสู่การป้องกันวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะเท้าแบนในนักศึกษาแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 3มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะเท้าแบนกับปัจจัยต่าง ๆ อันได้แก่ เพศ ความถนัดของเท้า น้ำหนักตัว ส่วนสูงสถานะทางน้ำหนัก และระดับการออกกำลังกายวิธีการทำวิจัย : เป็นการศึกษาภาคตัดขวางโดยวีธีการทำสำมะโน กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัคร 200 รายจากประชากร 240 ราย ช่วงอายุ 19 - 22 ปี ศึกษาโดยสร้างแบบสอบถามใน google forms เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เพศ ความถนัดของเท้า น้ำหนักตัว ส่วนสูง และระดับการออกกำลังกาย คำนวณค่าดัชนีมวลกายเพื่อจัดระดับสถานะทางน้ำหนัก และใช้เครื่องมือ Harris mat imprint พิมพ์รูปฝ่าเท้าและนำไปคำนวณค่า Chippaux-Smirak index (CSI) เพื่อใช้ประเมินภาวะเท้าแบน จากนั้นใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าความชุกภาวะเท้าแบน และcorrelation coefficients วิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ภาวะเท้าแบนกับปัจจัย ได้แก่ เพศ น้ำหนักตัว ความถนัดของเท้า ส่วนสูง สถานะทางน้ำหนัก และระดับการออกกำลังกายกับภาวะเท้าแบนผลการศึกษา : พบภาวะเท้าแบน 124 ราย คิดเป็นร้อยละ 62.0 พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างความรุนแรงของภาวะเท้าแบนกับน้ำหนักตัวดัชนีมวลกาย สถานะทางน้ำหนัก (r = 0.247 P <0.001, r = 0.287P < 0.001 และ r = 0.239 P = 0.001 ตามลำดับ) และการมีภาวะเท้าแบนกับดัชนีมวลกาย (r = 0.925 Eta) ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างเท้าข้างที่แบนกับความถนัดของเท้าสรุป : ความชุกของภาวะเท้าแบนในนักศึกษาครั้งนี้มีมากกว่าร้อยละ 50 โดยพบภาวะเท้าแบนสัมพันธ์ระหว่างกับ น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย สถานะทางน้ำหนัก การศึกษานี้มีประโยชน์ในด้านการป้องกันและส่งเสริมการดูแลสุขภาพเท้าที่ดีต่อไป.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

627

Last Page

637

Share

COinS