•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : มะรุม (Moringa oleifera Lam.) เป็นสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางถึงสรรพคุณทางโภชนาการและทางยาเป็นพืชที่มีธาตุอาหารสูงมีการส่งเสริมให้นำมารับประทานเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อป้องกันและรักษาภาวะทุพโภชนาการ และใบมะรุมยังประกอบไปด้วยสารที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดวัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบความปลอดภัยในการใช้สารสกัดน้ำจากใบมะรุมต่อการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของหนูขาวเพศผู้วัยก่อนเจริญพันธุ์วิธีการทำวิจัย : นำหนูขาวเพศผู้วัยก่อนเจริญพันธุ์สายพันธุ์ Wistar อายุ 4-5 สัปดาห์จำนวน 40 ตัว แบ่งเป็น 5 กลุ่มเท่า ๆ กัน มาป้อนสารสกัดน้ำจากใบมะรุมความเข้มข้น 60, 120, 180 และ 240 mg/kg BW เป็นระยะเวลา 60 วันส่วนกลุ่มควบคุมป้อนน้ำกลั่น 1 มล./วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง นำอัณฑะมาชั่งน้ำหนักและเตรียมเนื้อเยื่อเพื่อศึกษาลักษณะจุลกายวิภาคผลการศึกษา : หนูขาวเพศผู้ก่อนวัยเจริญพันธุ์กลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากมะรุมความเข้มข้น 60 mg/kg BW จะพบเยื่อบุท่อสร้างอสุจิ(seminiferous epithelium) อยู่ในระยะที่ 1 ส่วนสารสกัดจากมะรุมความเข้มข้น 180 และ 240 mg/kg BW มีผลให้เกิดการพัฒนาของเยื่อบุท่อสร้างอสุจิในระยะที่ 12 มากที่สุด ในขณะที่สารสกัดจากมะรุมความเข้มข้น 120 mg/kg BW มีการพัฒนาของเยื่อบุท่อสร้างอสุจิในระยะที่ 1และ 12 เท่า ๆ กัน ส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อสร้างอสุจิและน้ำหนักอัณฑะของหนูทดลองกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากใบมะรุมทุกความเข้มข้นไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป : สารสกัดน้ำจากใบมะรุมนอกจากจะมีความปลอดภัยต่อเยื่อบุท่อสร้างอสุจิ และอวัยวะสืบพันธุ์ของหนูขาวแล้ว ยังอาจให้ผลดีต่อการสืบพันธุ์โดยมีผลกระตุ้นการพัฒนาของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ด้วย.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.62.3.15

First Page

607

Last Page

618

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.