•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : มหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ (human gross anatomy) เป็นรายวิชาหนึ่งที่สำคัญในชั้นปรีคลินิกของนักศึกษาแพทย์ วิชานี้ศึกษาจากร่างอาจารย์ใหญ่ที่มีรายละเอียดจำนวนมากทั้งเนื้อหาหลักและส่วนย่อยจึงทำให้เกิดปัญหาในการเรียนโดยเฉพาะการจดจำเนื้อหาวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความจำเรื่องมหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ และเพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนมหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์วิธีการทำวิจัย : ศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ดำเนินการในนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่3 จำนวน 184 ราย ใช้คำถามแบบเลือกตอบ (multiple-choice questions)จำนวน 15 ข้อ ในการทดสอบความรู้ความจำมหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ และใช้แบบสอบถามในการประเมิน 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยด้านนักศึกษา เนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนของมหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient)ผลการศึกษา : ความรู้ความจำจากการทำแบบทดสอบของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ย 7.94(คิดเป็นร้อยละ 52.93) และลำดับขั้นของกระบวนวิชาระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูกมีค่าเฉลี่ย 2.89 โดยผลของการศึกษาพบว่าทัศนคติมีของนักศึกษาความสัมพันธ์กับความรู้ความจำเรื่องมหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ (r = 0.284; P < 0.01) และลำดับขั้นของกระบวนวิชาระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก (r = 0.296; P < 0.01) อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านเนื้อหาวิชาและด้านการเรียนการสอนไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความจำเรื่องมหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ และลำดับขั้นของกระบวนวิชาระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างชอบการเรียนมหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์แบบดั้งเดิม (Traditional teachingmethod) คิดเป็นร้อยละ 31.9 และการเรียนที่ใช้สื่อดิจิตอลคิดเป็นร้อยละ 31.7สรุป : ทัศนคติของนักศึกษาแพทย์เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความรู้ความเข้าใจมหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ และนักศึกษาชอบการเรียนทั้งแบบดั้งเดิมและการเรียนที่ใช้สื่อดิจิตอลมากที่สุด ซึ่งควรพิจารณาในการจัดการเรียนการสอนมหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ต่อไป.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

593

Last Page

605

Share

COinS