•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าความเครียดจากการทำงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ และเป็นสาเหตุที่ทำให้พยาบาลลาออกเป็นจำนวนมาก การศึกษาถึงระดับความเครียดและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานด้านต่าง ๆ อาจใช้เป็นแนวทางป้องกันหรือแก้ไขเพื่อให้พยาบาลวิชาชีพทำงานได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพมากขึ้นวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงระดับความเครียดจากการทำงานและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครวิธีการทำวิจัย : เก็บข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานประจำของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในปีพ.ศ. 2559 จำนวน77 ราย โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วย 1)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามสุขภาพทั่วไป (generalhealth questionnaire: GHQ 30) 3) แบบสอบถามปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดด้านการทำงาน สถิติที่ใช้ได้แก่ Chi- square และFisher’s Exact Test เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด และใช้ multivariate analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายระดับความเครียดจากการทำงานผลการศึกษา : พบว่าร้อยละ 51.9 ของกลุ่มตัวอย่างมีระดับความเครียดที่เกิดจากปัจจัยด้านการทำงานระดับน้อยหรือไม่รุนแรง ส่วนกลุ่มที่เกิดความเครียดอยู่ในระดับมากหรือค่อนข้างรุนแรง พบร้อยละ 3.9 โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียด ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้และภาวะสุขภาพจิต และพบว่าปัจจัยที่อธิบายระดับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพ คือ ภาวะสุขภาพจิต โดยมีค่าความเสี่ยงเป็น 8.641 เท่าสรุป : ความเครียดและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในการศึกษาครั้งนี้ใกล้เคียงกับการศึกษาอื่น ๆ การทราบปัจจัยดังกล่าวช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักและใช้เป็นแนวทาง ป้องกัน แก้ไข หรือให้คำปรึกษาเพื่อช่วยลดปัญหาที่ก่อให้เกิดความเครียดซึ่งอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงานต่อไป.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

197

Last Page

209

Share

COinS