
Article Title
Abstract
ประสาทหูเสื่อมตามอายุ (Presbycusis) หรือ age-related hearing loss (AHL) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของการสูญเสียการได้ยินของผู้สูงอายุทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกาพบอุบัติการณ์ของการเสื่อมของประสาทการได้ยินเพิ่มขึ้นตามอายุ ร้อยละ 11 ในช่วงอายุ 44 - 54 ปี ร้อยละ 25ในช่วงอายุ 55 - 64 ปี และร้อยละ 43 ในช่วงอายุ 65 – 84 ปี ประสาทหูเสื่อมตามอายุมีลักษณะการได้ยินลดลงที่ค่อยเป็นค่อยไปและเท่าๆ กันของหูทั้งสองข้าง โดยเกณฑ์การวินิจฉัยขององค์การอนามัยโลกพิจารณาจากตรวจการได้ยินโดยระดับการได้ยินที่คลื่นความถี่ที่ 0.5, 1, 2 และ 4กิโลเฮิรตซ์มากกว่า 25 เดซิเบล ของหูทั้ง 2 ข้าง แบ่งเป็น 4 ชนิด ตามรอยโรคที่พบในกระดูกเทมโพราล1. sensory presbycusis 2. neural presbycusis 3. strial presbycusis (metabolic presbycusis)4. cochlear conductive or mechanical presbycusis ตำแหน่งที่มีผลต่อการเกิดรอยโรค inner haircell, outer hair cell, striavascularis และ afferent spiral ganglion neurons โดยมี 4 ปัจจัย เป็นตัวกระตุ้น1. อายุที่มากขึ้น 2. ออกซิเจนที่มีประจุลบ 3. พันธุกรรม และ 4. โรคประจำตัว การรักษาประสาทหูเสื่อมตามอายุ คือ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เครื่องช่วยฟังถือได้ว่าเป็นการรักษาหลัก.
Publisher
Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
First Page
175
Last Page
185
Recommended Citation
โอภาสวัฒนา, ไชยพร and อุทุมพฤกษ์พร, นัตวรรณ
(2018)
"ประสาทหูเสื่อมตามอายุ,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 62:
Iss.
2, Article 6.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol62/iss2/6