Abstract
ประสาทหูเสื่อมตามอายุ (Presbycusis) หรือ age-related hearing loss (AHL) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของการสูญเสียการได้ยินของผู้สูงอายุทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกาพบอุบัติการณ์ของการเสื่อมของประสาทการได้ยินเพิ่มขึ้นตามอายุ ร้อยละ 11 ในช่วงอายุ 44 - 54 ปี ร้อยละ 25ในช่วงอายุ 55 - 64 ปี และร้อยละ 43 ในช่วงอายุ 65 – 84 ปี ประสาทหูเสื่อมตามอายุมีลักษณะการได้ยินลดลงที่ค่อยเป็นค่อยไปและเท่าๆ กันของหูทั้งสองข้าง โดยเกณฑ์การวินิจฉัยขององค์การอนามัยโลกพิจารณาจากตรวจการได้ยินโดยระดับการได้ยินที่คลื่นความถี่ที่ 0.5, 1, 2 และ 4กิโลเฮิรตซ์มากกว่า 25 เดซิเบล ของหูทั้ง 2 ข้าง แบ่งเป็น 4 ชนิด ตามรอยโรคที่พบในกระดูกเทมโพราล1. sensory presbycusis 2. neural presbycusis 3. strial presbycusis (metabolic presbycusis)4. cochlear conductive or mechanical presbycusis ตำแหน่งที่มีผลต่อการเกิดรอยโรค inner haircell, outer hair cell, striavascularis และ afferent spiral ganglion neurons โดยมี 4 ปัจจัย เป็นตัวกระตุ้น1. อายุที่มากขึ้น 2. ออกซิเจนที่มีประจุลบ 3. พันธุกรรม และ 4. โรคประจำตัว การรักษาประสาทหูเสื่อมตามอายุ คือ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เครื่องช่วยฟังถือได้ว่าเป็นการรักษาหลัก.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.62.2.4
First Page
175
Last Page
185
Recommended Citation
โอภาสวัฒนา, ไชยพร and อุทุมพฤกษ์พร, นัตวรรณ
(2018)
"ประสาทหูเสื่อมตามอายุ,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 62:
Iss.
2, Article 6.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.62.2.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol62/iss2/6