•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งการที่ผู้ป่วยและผู้ดูแลขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอาจก่อให้เกิดตราบาปในผู้ป่วยและผู้ดูแลวัตถุประสงค์ : ศึกษาการรับรู้ตราบาปและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ตราบาปที่เกิดขึ้นในผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมระยะแรกและผู้ดูแลที่เข้ามารับการรักษา ณ คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์วิธีการทำวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 97 ราย ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมระยะแรกที่ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์หรือประสาทแพทย์ว่าเป็นโรคสมองเสื่อมชนิด alzheimer’s disease (AD), vascular dementia(VAD), AD with cerebrovascular disease (CVD), mild cognitiveimpairment (MCI) and mixed dementia ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและมีผู้ดูแล ซึ่งอยู่ดูแลไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อวันและดูแลมานานไม่น้อยกว่า 1 เดือน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล, แบบวัด stigma impact scale (SIS), แบบวัดความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแล (Zarit Burden Interview Thai version),แบบประเมิน NPI-Q, แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์โดยวิเคราะห์ทางสถิติของค่าการรับรู้ตราบาปเป็นค่าเฉลี่ย ค่าสัดส่วนและร้อยละและหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยทดสอบด้วย t-test และOne-Way ANOVA แล้วทำการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพื่อหาปัจจัยทำนายการรับรู้ตราบาปผลการศึกษา : พบว่าผู้ป่วยและผู้ดูแลส่วนใหญ่มีการรับรู้ตราบาปในระดับต่ำคิดเป็นร้อยละ 92.8 และ 89.7 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการรับรู้ตราบาป ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ประวัติการมีโรคสมองเสื่อมในครอบครัว คะแนนจากแบบวัด NPI-Q ความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแล และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ดูแล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแล และความเพียงพอของรายได้และปัจจัยที่สามารถทำนายค่าคะแนนการรับรู้ตราบาปในผู้ป่วย ได้แก่อายุและประวัติการมีโรคสมองเสื่อมในครอบครัว และปัจจัยทำนายค่าคะแนนของผู้ดูแล ได้แก่ ความรู้สึกเป็นภาระในระดับสูงสรุป : การรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมระยะแรกและผู้ดูแลส่วนใหญ่ในการศึกษานี้อยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับการศึกษาที่ผ่านมาจากโลกตะวันตก ซึ่งอาจเป็นผลจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ยังต้องการการศึกษาต่อไปในอนาคต.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.62.2.8

First Page

223

Last Page

237

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.