Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (HCV) เป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งตับในไทย ความชุกของจีโนไทป์ของ HCV แตกต่างกันไปตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์แต่พบมีการศึกษาความชุกของ HCV ในกรุงเทพมหานครน้อยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อ การกระจายตัวจีโนไทป์ของไวรัสตับอักเสบซี ในผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์วิธีการทำวิจัย : ศึกษาย้อนหลังจากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศจากฝ่ายจุลชีววิทยาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2555 - 2558 จากผู้ป่วยทั้งหมด33,911 ราย มีผู้ป่วยที่มีผลบวกต่อแอนติบอดีต่อไวรัสตับอักเสบซี1,262 ราย (ร้อยละ 3.7) ในผู้ป่วยที่มีผลบวกต่อแอนติบอดีต่อไวรัสตับอักเสบซี มีการตรวจพบ HCV อาร์เอ็นเอ และจำแนกจีโนไทป์จำนวน544 ตัวอย่าง โดยเป็นตัวอย่างจากผู้ป่วยชาย 353 ราย ผู้ป่วยหญิง191 ราย มีอายุเฉลี่ย 52.6 ปี โดยการตรวจ HCV อาร์เอ็นเอ ใช้หลักการ real-time reverse transcription-polymerase chain reaction(RT-PCR) โดยวิธี COBAS TaqMan HCV ส่วนการจำแนกจีโนไทป์ใช้วิธี Linear Array HCV Genotypingผลการศึกษา : ตัวอย่างที่มีผลบวกต่อแอนติบอดีต่อไวรัสตับอักเสบซี 1,262 ราย(อายุเฉลี่ย 51.9 ปี เพศชาย 773 ราย และเพศหญิง 489 ราย) ได้ส่งตรวจจีโนไทป์ 672 ราย มีการตรวจพบ HCV อาร์เอ็นเอด้วยวิธี RT-PCRและจำแนกจีโนไทป์จำนวน 544 ราย ซึ่งพบจีโนไทป์ 1 ร้อยละ 48.5จีโนไทป์ 2 ร้อยละ 1.1, จีโนไทป์ 3 ร้อยละ 45.4 จีโนไทป์ 6 ร้อยละ 1.5และจีโนไทป์ผสมร้อยละ 3.5 ตามลำดับสรุป : อัตราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เฉลี่ยร้อยละ 3.7 และจีโนไทป์ที่พบมากที่สุดเป็นจีโนไทป์1 และจีโนไทป์ 3.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.62.1.6
First Page
67
Last Page
78
Recommended Citation
วานเดอลาร์, สุนิดา and หิรัญกาญจน์, ณัฏฐิยา
(2018)
"ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 62:
Iss.
1, Article 9.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.62.1.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol62/iss1/9