•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ผู้สูงอายุที่มีความรู้สึกมีคุณค่าต่อตนเองจะมีพลังเชิงบวกในการพัฒนาตนเอง สามารถดูแลตนเองได้ และลดการเป็นภาระในสังคม ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาเรื่องความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุในเขตชนบท ซึ่งมีรูปแบบการดำเนินชีวิตอีกลักษณะหนึ่ง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมผู้สูงอายุในเขตชนบทวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุวิธีการทำวิจัย : ผู้สูงอายุ อายุเท่ากับหรือมากกว่า 60 ปีขึ้นไปจำนวน 340 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล และแบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของ Coopersmith มีค่าความเชื่อมั่นดังนี้ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 0.90 การใช้หลักธรรมะในการดำเนินชีวิต 0.85 สัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัว 0.84สัมพันธภาพกับบุคคลในสังคม 0.76 และสิ่งแวดล้อมในสังคม 0.78ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 59.1 กลุ่มอายุ 60 – 69 ปี มากที่สุดร้อยละ 56.2 มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองระดับปานกลางมากที่สุดร้อยละ 62.9 รองลงมาต่ำและสูงร้อยละ 21.8 และ 15.3 ตามลำดับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ภาวะสุขภาพ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโรคประจำตัว การรับรู้ภาวะสุขภาพกายเมื่อเทียบกับคนวัยเดียวกัน การใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรม งานอดิเรก กีฬา และการพบปะติดต่อกับบุตร บทบาทในครอบครัว ได้แก่ ช่วยทำงานประกอบอาชีพ เป็นที่ปรึกษาครอบครัว เลี้ยงดูบุตรหลาน ช่วยเหลืองานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ สัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัว (r = 0.56)สัมพันธภาพกับบุคคลในสังคม (r = 0.59) และสิ่งแวดล้อมในสังคม(r = 0.55) มีความสัมพันธ์ทางบวกปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (P >0.05) ได้แก่ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การใช้หลักธรรมะในการดำเนินชีวิตสรุป : หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ ควรดูแลผู้สูงอายุในเรื่องภาวะสุขภาพความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโรคประจำตัว การรับรู้ภาวะสุขภาพเมื่อเทียกับคนวัยเดียวกัน การใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรม การพบปะติดต่อกับบุตร การมีบทบาทในครอบครัว เรื่อง ช่วยทำงานประกอบอาชีพ เป็นที่ปรึกษา เลี้ยงดูบุตรหลาน ช่วยเหลืองานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ มีสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัว มีสัมพันธภาพกับบุคคลในสังคม และสิ่งแวดล้อมในสังคม.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.62.1.9

First Page

119

Last Page

133

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.