•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ในปัจจุบันการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตมี 2 วิธี ได้แก่ 1) การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง และ 2) การผ่าตัดเปลี่ยนไตซึ่งแต่ละวิธีการรักษาส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยซึ่งการศึกษาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา 2 วิธีนี้ที่ผ่านมายังไม่พบข้อสรุปที่แน่ชัด และยังไม่เคยมีการศึกษาในประเทศไทยมาก่อนวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด หรือการล้างไตทางช่องท้องกับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดหรือการล้างไตทางช่องท้องกับผู้ป่วยการผ่าตัดเปลี่ยนไตวิธีการทำวิจัย : กลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการการฟอกเลือด หรือการล้างไตทางช่องท้องจำนวน 100 รายและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตจำนวน 100 ราย รวมเป็น 200 รายที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคไต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย 2) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย 3) แบบประเมินอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย4) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และ5) แบบประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความเป็นอิสระต่อกันของสองประชากร ทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกผลการศึกษา : ผลการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตรายด้านและโดยรวมของกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้อง และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต พบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่การฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้องทั้งรายด้านในทุก ๆ ด้าน (ด้านร่างกาย จิตใจสัมพันธภาพ และสิ่งแวดล้อม) โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจิตใจด้านสัมพันธภาพทางสังคม และโดยรวม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีของทั้ง 2 กลุ่มคือ การศึกษาที่ดีตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปเศรษฐานะของครอบครัวที่เพียงพอ ระยะเวลาเจ็บป่วย 4 ปีขึ้นไปและการสนับสนุนทางสังคมระดับสูงสรุป : คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่การฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้องทั้งด้านร่างกาย จิตใจสัมพันธภาพ และสิ่งแวดล้อม และปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย จะช่วยส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยได้ผลการศึกษาวิจัยนี้ช่วยเป็นแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วย และพัฒนาการดูแลผู้ป่วยให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตดีขึ้น.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.62.1.8

First Page

91

Last Page

105

Plum Print visual indicator of research metrics
PlumX Metrics
  • Usage
    • Abstract Views: 1101
    • Downloads: 949
  • Captures
    • Readers: 3
see details

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.