•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : การลุกขึ้นยืนเป็นการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่จำเป็นในชีวิตประจำวันในผู้สูงอายุที่มีความแข็งแรงและการทรงตัวลดลง เป็นปัจจัยสำคัญในการลุกขึ้นยืนจากท่านั่งได้อย่างง่ายและปลอดภัย การกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทสั่งการมายังอวัยวะเป้าหมายให้ทำงานดีขึ้นเป็นสิ่งจำเป็น การจินตนาการเคลื่อนไหว เป็นกระบวนการที่สามารถเพิ่มการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทสั่งการ เนื่องจากการจินตนาการเคลื่อนไหว (motor imagery; MI) มีกระบวนการทำงานคล้ายกับการเคลื่อนไหวทางร่างกายที่เกิดขึ้น แต่มีความแตกต่างกันที่การจินตนาการจะไม่เห็นการเคลื่อนไหวทางกายเกิดขึ้น การประเมินการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ในขณะจินตนาการเคลื่อนไหวสามารถประเมินได้หลายวิธี อาทิการวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalography;EEG) ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่รุกล้ำเข้าไปในร่างกาย การศึกษานี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับการเพิ่มสมรรถภาพในการลุกขึ้นยืนในผู้สูงอายุและในผู้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหวได้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาจินตนาการลุกขึ้นยืนกับการลุกขึ้นยืนจริง โดยวัดจากชนิดของคลื่นไฟฟ้าสมอง ในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีวิธีทำการวิจัย : อาสาสมัครจำนวน 19 ราย อายุระหว่าง 60 - 69 ปี วัดคลื่นไฟฟ้าสมองก่อนทำการลุกขึ้นยืน ในขณะทำการลุกขึ้นยืน และในขณะทำการจินตนาการลุกขึ้นยืนผลการศึกษา : พบลักษณะคลื่นไฟฟ้าบริเวณสมองส่วน frontal lobe, temporal lobe,parietal lobe และ occipital lobe เป็นคลื่นเบต้า (14 - 17 Hz)ก่อนทำการลุกขึ้นยืน ในขณะทำการลุกขึ้นยืน และในขณะทำการจินตนาการลุกขึ้นยืน อย่างไรก็ตามลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองบริเวณparietal และ occipital lobe พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ระหว่างก่อนลุกขึ้นยืน ขณะลุกขึ้นยืนกับขณะจินตนาการลุกขึ้นยืน โดยพบคลื่นเบต้า (14 - 17 Hz) ในช่วงก่อนทำการลุกขึ้นยืนและขณะลุกขึ้นยืน คิดเป็นร้อยละ 89.5 แต่ในขณะจินตนาการลุกขึ้นยืน พบคลื่นเบต้า (14 - 17 Hz) คิดเป็นร้อยละ 52.6สรุป : ลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองขณะลุกขึ้นยืนกับจินตนาการลุกขึ้นยืนที่บริเวณสมองส่วน frontal lobe, temporal lobe, parietal lobe และoccipital lobe มีลักษณะคล้ายกัน คือ เป็นคลื่นเบต้า ดังนั้นอาจสรุปได้ว่ากระบวนการทำงานของสมองในขณะจินตนาการเคลื่อนไหวมีกระบวนการทำงานคล้ายกับการเคลื่อนไหวจริง โดยเฉพาะในบริเวณสมองส่วน frontal lobe และ temporal lobe ในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.61.6.6

First Page

757

Last Page

770

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.