•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจจะมีปัญหาในการออกกำลังกายและทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตลดลง การออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจเป็นวิธีการช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจมีสมรรถภาพร่างกาย และระดับคุณภาพชีวิตดีขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจควรได้รับการส่งเสริม ให้เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจมากขึ้นวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการทำกิจกรรมออกกำลังกายและระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ ภายหลังจากการเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ณ.คลินิกฟื้นฟูหัวใจและปอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์วิธีการทำวิจัย : เป็นการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยนอกจำนวน 22 รายที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ในด้านระดับความสามารถในการทำกิจกรรมออกกำลังกายด้วยการทดสอบการเดิน 6 นาที (6 minute walk test) และระดับคะแนนคุณภาพชีวิต (SF-36 Thai version) ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจเป็นชาย 15 ราย(ร้อยละ 68.2) หญิง 7 ราย (ร้อยละ 31.8) มีอายุเฉลี่ย 65.36 ± 11.10 ปีส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease)14 ราย (ร้อยละ 63.6) มีค่าสัมประสิทธิ์การบีบตัวของหัวใจ (leftventricular ejection fraction) เฉลี่ย 38.4 ± 17.96% ผลการศึกษาการทดสอบด้วยการเดิน 6 นาทีและคะแนนคุณภาพชีวิตจากแบบสอบถาม SF-36 พบว่าก่อนเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจกลุ่มตัวอย่างสามารถเดินได้ระยะทางโดยเฉลี่ย 273.9 ± 137.42 ม. และหลังการเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสามารถเดินได้ระยะทางโดยเฉลี่ย 346.32 ± 153.65 ม. โดยมีระยะทางเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย72.38 ม. (P <0.001) ส่วนด้านคุณภาพชีวิตในภาพรวมหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) เมื่อเทียบกับก่อนเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสรุป : กายฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายในระดับความหนักปานกลางสามารถเพิ่มระดับความสามารถในการทำกิจกรรมออกกำลังกาย และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ และควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ในกรณีที่ไม่สามารถมารับบริการที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยควรได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่เหมาะสมไปปฏิบัติที่บ้านทุกราย.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.61.6.4

First Page

731

Last Page

743

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.