Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจจะมีปัญหาในการออกกำลังกายและทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตลดลง การออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจเป็นวิธีการช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจมีสมรรถภาพร่างกาย และระดับคุณภาพชีวิตดีขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจควรได้รับการส่งเสริม ให้เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจมากขึ้นวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการทำกิจกรรมออกกำลังกายและระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ ภายหลังจากการเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ณ.คลินิกฟื้นฟูหัวใจและปอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์วิธีการทำวิจัย : เป็นการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยนอกจำนวน 22 รายที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ในด้านระดับความสามารถในการทำกิจกรรมออกกำลังกายด้วยการทดสอบการเดิน 6 นาที (6 minute walk test) และระดับคะแนนคุณภาพชีวิต (SF-36 Thai version) ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจเป็นชาย 15 ราย(ร้อยละ 68.2) หญิง 7 ราย (ร้อยละ 31.8) มีอายุเฉลี่ย 65.36 ± 11.10 ปีส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease)14 ราย (ร้อยละ 63.6) มีค่าสัมประสิทธิ์การบีบตัวของหัวใจ (leftventricular ejection fraction) เฉลี่ย 38.4 ± 17.96% ผลการศึกษาการทดสอบด้วยการเดิน 6 นาทีและคะแนนคุณภาพชีวิตจากแบบสอบถาม SF-36 พบว่าก่อนเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจกลุ่มตัวอย่างสามารถเดินได้ระยะทางโดยเฉลี่ย 273.9 ± 137.42 ม. และหลังการเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสามารถเดินได้ระยะทางโดยเฉลี่ย 346.32 ± 153.65 ม. โดยมีระยะทางเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย72.38 ม. (P <0.001) ส่วนด้านคุณภาพชีวิตในภาพรวมหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) เมื่อเทียบกับก่อนเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสรุป : กายฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายในระดับความหนักปานกลางสามารถเพิ่มระดับความสามารถในการทำกิจกรรมออกกำลังกาย และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ และควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ในกรณีที่ไม่สามารถมารับบริการที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยควรได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่เหมาะสมไปปฏิบัติที่บ้านทุกราย.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.61.6.4
First Page
731
Last Page
743
Recommended Citation
รอดโพธิ์ทอง, พรเทพ; แรงกล้า, สริสสา; and ปาสานำ, จิราภรณ์
(2017)
"การทดสอบด้วยการเดิน 6 นาทีและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจหลังการเข้ารับบริการคลินิกฟื้นฟูหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 61:
Iss.
6, Article 5.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.61.6.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss6/5