•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

ในประเทศไทยพบว่ามะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับ 1 และการผ่าตัดถือได้ว่าเป็นหนึ่งในการรักษาหลักของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม โดยวิธีการผ่าตัดเต้านมสองวิธีที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน คือ การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (breast-conservative therapy) และ totalmastectomy อย่างไรก็ตามในช่วงประมาณ 10 ปี ที่ผ่านมา การรักษาเต้านมโดยวิธี total mastectomyกลับมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันนั้นนอกจากในด้านการควบคุมโรคมะเร็งแล้ว การแก้ไขภาวะความพิการจากการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งเต้านม ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต้องคำนึงถึงในการรักษาผู้ป่วย และยังเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนบุคคลปกติทั่วไป การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม (breast reconstruction)หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมจึงมีบทบาทสำคัญและเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องให้ข้อมูลกับผู้ป่วยเสมอ ในการตัดสินใจพิจารณาว่าจะแนะนำ breast reconstruction สำหรับผู้ป่วยจะต้องดูถึงปัจจัยหลายประการ ประกอบด้วย ระยะของมะเร็งเต้านม การให้ adjuvant therapy ระยะเวลาการทำผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมหลังการตัดเต้านมเป็นผ่าตัดทันทีหรือผ่าตัดภายหลัง การยอมรับของผู้ป่วยสำหรับการใช้ prosthesis ความพร้อมของผู้ป่วยและความชำนาญของศัลยแพทย์ในการทำผ่าตัด การให้ข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้านเพื่อให้ผู้ป่วยได้ตัดสินใจเลือก และมีส่วนร่วมในแผนการรักษาอันจะนำมาซึ่งผลการรักษา ความร่วมมือในการรักษาและประโยชน์สูงสุดแก่ตัวผู้ป่วยนั่นเอง.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

715

Last Page

730

Share

COinS