Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : การปรับตัว เป็นการแก้ปัญหาเพื่อให้ชีวิตมีความสุข หากแก้ปัญหาหรือปรับตัวไม่ได้ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในการเรียน การทำงานตลอดจนปัญหาการปรับตัวในเรื่องอื่น ๆ การศึกษาการปรับตัวของนักศึกษาแพทย์สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหา ตลอดจนให้คำแนะนำแก่นักศึกษาแพทย์ได้อย่างถูกต้องวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการปรับตัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลวิธีการทำวิจัย : โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 284 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน 2) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต 3) แบบสำรวจปัญหาการปรับตัว ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายลักษณะทั่วไปของประชากร ได้แก่ ค่าสัดส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบความสัมพันธ์ของปัญหาการปรับตัวกับปัจจัยส่วนบุคคลและความฉลาดทางอารมณ์โดยใช้สถิติ Pearson’s correlation coefficient, Independentsamples t-test, One way analysis of variance และ multipleregression analysisผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย 150 ราย (ร้อยละ 52.8) และเป็นเพศหญิง134 ราย (ร้อยละ 47.2) มีอายุเฉลี่ย 19 ปี ส่วนใหญ่มีปัญหาการปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย 1.93 จากคะแนนเต็ม3) มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ในด้านรวม อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และทำนายปัญหาการปรับตัว คือความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งสามารถทำนายได้ร้อยละ 36.7สรุป : นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนใหญ่มีปัญหาในการปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ และความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ และเป็นปัจจัยทำนายปัญหาการปรับตัว.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.61.5.8
First Page
631
Last Page
645
Recommended Citation
อาภรณ์กุล, นิลญา and ศุภปีติพร, ศิริลักษณ์
(2017)
"การปรับตัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 61:
Iss.
5, Article 9.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.61.5.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss5/9