Abstract
การล่วงละเมิดทางเพศเป็นปรากฏการณ์หนึ่งทางสังคม ซึ่งส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางสร้างความหวาดกลัว ตื่นตระหนก และรบกวนการใช้ชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก การดูแลผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศในอดีตเป็นการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบแยกส่วน มุ่งเน้นการรักษาและป้องกันโรคทางกาย ปัจจุบันการรักษาเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ อย่างไรก็ตามการเยียวยาด้วยกระบวนการทางกฎหมายยังเป็นสิ่งที่ถูกละเลย เนื่องจากแพทย์จำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยในส่วนของแพทย์สิ้นสุดลงโดยปราศจากการติดตามผู้ป่วยไปในชั้นพิจารณาคดี และชั้นการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ส่วนทางฝั่งของกระบวนการยุติธรรมในอดีตนั้นมุ่งให้ความสำคัญกับการล่วงละเมิดทางเพศของผู้เสียหายที่มีเพศตรงข้ามกับผู้กระทำผิด โดยละเลยการกระทำความรุนแรงทางเพศระหว่างสามีกับภรรยา และผู้เสียหายที่มีเพศเดียวกันกับผู้กระทำผิดทั้งยังมุ่งเน้นการลงโทษผู้กระทำความผิดมากกว่าการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม และปรับพฤติกรรมของอาชญากร ต่อมาจึงได้มีการพัฒนากฎหมายให้ครอบคลุมถึงผู้เสียหายทุกกลุ่ม รวมทั้งมุ่งเน้นการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดมากยิ่งขึ้น บทความนี้จึงเป็นการรวบรวมความรู้ระหว่างการแพทย์และกฎหมาย เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงวิธีการดูแลผู้ป่วยถูกล่วงละเมิดทางเพศในด้านการตรวจร่างกายการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาแบบองค์รวม และการเยียวยาทางกฎหมาย เพื่อให้บุคลากรทางด้านสาธารณสุขและทางด้านกฎหมายมีความเข้าใจปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางเพศอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.61.5.6
First Page
603
Last Page
618
Recommended Citation
จำลองกุล, อานนท์
(2017)
"การดูแลผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ: ร่างกาย จิตใจและการเยียวยาทางกฎหมาย,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 61:
Iss.
5, Article 7.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.61.5.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss5/7