Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะเครียดจากการทำงาน เป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในในทนายความของหลาย ๆ ประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากความกดดันจากองค์กรที่ต้องการผลงานมากขึ้น ทำให้งานล้นมือลูกจ้าง หรือการไม่มีสิทธิในการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างเต็มที่ภาวะเครียดจากการทำงานที่สะสมเป็นเวลานานทำให้เกิดภาวะหมดไฟได้ ซึ่งจะลดประสิทธิภาพในการทำงานของตัวบุคคล โดยภาวะเครียดจากการทำงานและภาวะหมดไฟในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะเครียดจากการทำงานและภาวะหมดไฟ ในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความณ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์วิธีการทำวิจัย: ศึกษาในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความจำนวน 400 รายที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558 – มกราคม พ.ศ. 2559 โดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเองจำนวนทั้งหมด 4 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล2) แบบสอบถามด้านการทำงาน 3) แบบสอบถามวัดภาวะเครียดจากการทำงาน และ 4) แบบสอบถามวัดภาวะหมดไฟ วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดจากการทำงาน และภาวะหมดไฟโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายภาวะเครียดจากการทำงานและภาวะหมดไฟโดยการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกและวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องระหว่างความเครียดจากการทำงาน และภาวะหมดไฟโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ผลการศึกษา : พบอัตราความชุกของ ภาวะเครียดจากการทำงาน ในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความ ร้อยละ 22.3 (89 ราย) และภาวะหมดไฟร้อยละ 7.0 (28 ราย) ผลการวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติก พบว่าปัจจัยทำนายภาวะเครียดจากการทำงาน ได้แก่ รายได้เฉลี่ยมากกว่า40,000 บาทขึ้นไปและประเภทใบอนุญาตทนายความใหม่และประเภท 2 ปี และปัจจัยทำนายภาวะหมดไฟ ได้แก่ รายได้เฉลี่ยมากกว่า 40,000 บาทขึ้นไป ประสบการณ์การทำงาน น้อยกว่า 10 ปีทำงานให้คำปรึกษา/แนะนำทางกฎหมายด้านงานอาญา และจำนวนชั่วโมงการทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ชม.ต่อวัน และผลการทดสอบไคสแควร์ พบว่าภาวะเครียดจากการทำงานเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะหมดไฟสรุป : ทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความที่มีภาวะเครียดจากการทำงานร้อยละ 22.3 (89 ราย) เป็นผู้ที่เพิ่งได้รับใบอนุญาตทนายความและผู้มีใบอนุญาตทนายความประเภท 2 ปี และมีรายได้จากการทำงานเฉลี่ยมากกว่า 40,000 บาทขึ้นไป ส่วนผู้ที่มีภาวะหมดไฟร้อยละ 7.0 (28 ราย)เป็นผู้ที่มีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 40,000 บาท และมีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี โดยอยู่ในกลุ่มที่ทำงานด้านให้คำปรึกษา/แนะนำทางกฎหมายด้านงานอาญาเพียงอย่างเดียวและมีจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อวันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ชม. โดยภาวะเครียดจากการทำงานเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะหมดไฟ.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.61.5.5
First Page
663
Last Page
676
Recommended Citation
เทิดทูนภูภุช, วลีรัตน์ เช็ค and ลือบุญธวัชชัย, พีรพนธ์
(2017)
"ภาวะเครียดจากการทำงาน และภาวะหมดไฟในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความ ณ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 61:
Iss.
5, Article 6.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.61.5.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss5/6