•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : โรคกระดูกสันหลังเสื่อมพบมากในประเทศไทยและพบบ่อยในผู้สูงอายุโดยเฉพาะ โรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ (lumbar spinal stenosis)ซึ่งเกิดจากการหนาตัวของชิ้นเอ็นช่องไขสันหลัง อัตราส่วนของอีลาสตินและคอลลาเจนลดลง และรวมถึงพังผืดจากอายุ ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาความยาวเทโลเมียร์ จำนวนชุด mitochondrial DNA (mtDNA) และ cellsenescence ในโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบและยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัยใดวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างความยาวเทโลเมียร์ จำนวนชุด mtDNAและทดสอบตัวชี้วัดการเกิดเซลล์ชรา (cell senescence) ในเซลล์ไฟโบบลาสจากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังระดับที่มีการหนาตัว และเซลล์ไฟโบบลาสจากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังระดับที่ไม่หนาตัว โดยเปรียบเทียบจากผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบที่ได้รับการผ่าตัดขยายช่องไขสันหลังที่มีอายุแตกต่างกันวิธีการทำวิจัย : ทำการเพาะเลี้ยงเซลล์จากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังจากผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบจำนวน 4 ราย อายุระหว่าง 61- 84 ปี ที่เข้ารับการผ่าตัดลดการกดทับไขสันหลังตามปกติ โดยในแต่ละรอบของการเลี้ยงเซลล์จากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังระดับที่หนาตัวและระดับที่ไม่หนาตัวทำการศึกษาความยาวเทโลเมียร์ จำนวนชุด mtDNA (mitochondrial DNAcopy number; mtDNAcn) โดยเทคนิค real-time polymerase chainreaction (PCR) และทดสอบตัวชี้วัดการเกิดเซลล์ชรา (cell senescence)โดยการย้อม senescence-associated β-galactosidase (SA-β-gal)ผลการศึกษา : เซลล์จากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังระดับที่หนาตัวและระดับที่ไม่หนาตัวมีความยาวเทโลเมียร์และจำนวนชุด mtDNA ลดลงในแต่ละรอบของการเลี้ยงเซลล์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่อายุต่างกัน (61 และ 84 ปี)พบว่าความยาวเทโลเมียร์และจำนวนชุด mtDNA ของผู้ป่วยที่อายุมากมีความยาวเทโลเมียร์สั้นกว่าและจำนวนชุด mtDNA น้อยกว่าผู้ป่วยที่อายุน้อย นอกจากนี้เมื่อทำการศึกษา cell senescence เซลล์จากผู้ป่วยที่อายุแตกต่างกันผ่านไปในแต่ละรอบของการเลี้ยงเซลล์ พบว่าเซลล์ของผู้ป่วยที่มีอายุมาก (77 และ 84 ปี) มีร้อยละของการติดสี SA-β-gal ตั้งแต่การเลี้ยงเซลล์ในรอบแรก ซึ่งมากกว่าเซลล์ของผู้ป่วยที่มีอายุน้อย (61 และ66 ปี) และแต่ละรอบของการเลี้ยงเซลล์พบจำนวนร้อยละการติดสี SA-β-galเพิ่มจำนวนมากขึ้นในแต่ละรอบสรุป : การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความยาวเทโลเมียร์ จำนวนชุด mtDNA ของเซลล์จากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังลดลงตามจำนวนรอบของการเลี้ยงเซลล์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงลดลงตามอายุของผู้ป่วยและพยาธิสภาพของโรค ส่งผลให้เกิดการสะสมของ cell senescence มากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่มีต่อพยาธิกำเนิดของโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

497

Last Page

509

Share

COinS