•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : โรคกระดูกสันหลังเสื่อมพบมากในประเทศไทยและพบบ่อยในผู้สูงอายุโดยเฉพาะ โรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ (lumbar spinal stenosis)ซึ่งเกิดจากการหนาตัวของชิ้นเอ็นช่องไขสันหลัง อัตราส่วนของอีลาสตินและคอลลาเจนลดลง และรวมถึงพังผืดจากอายุ ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาความยาวเทโลเมียร์ จำนวนชุด mitochondrial DNA (mtDNA) และ cellsenescence ในโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบและยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัยใดวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างความยาวเทโลเมียร์ จำนวนชุด mtDNAและทดสอบตัวชี้วัดการเกิดเซลล์ชรา (cell senescence) ในเซลล์ไฟโบบลาสจากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังระดับที่มีการหนาตัว และเซลล์ไฟโบบลาสจากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังระดับที่ไม่หนาตัว โดยเปรียบเทียบจากผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบที่ได้รับการผ่าตัดขยายช่องไขสันหลังที่มีอายุแตกต่างกันวิธีการทำวิจัย : ทำการเพาะเลี้ยงเซลล์จากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังจากผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบจำนวน 4 ราย อายุระหว่าง 61- 84 ปี ที่เข้ารับการผ่าตัดลดการกดทับไขสันหลังตามปกติ โดยในแต่ละรอบของการเลี้ยงเซลล์จากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังระดับที่หนาตัวและระดับที่ไม่หนาตัวทำการศึกษาความยาวเทโลเมียร์ จำนวนชุด mtDNA (mitochondrial DNAcopy number; mtDNAcn) โดยเทคนิค real-time polymerase chainreaction (PCR) และทดสอบตัวชี้วัดการเกิดเซลล์ชรา (cell senescence)โดยการย้อม senescence-associated β-galactosidase (SA-β-gal)ผลการศึกษา : เซลล์จากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังระดับที่หนาตัวและระดับที่ไม่หนาตัวมีความยาวเทโลเมียร์และจำนวนชุด mtDNA ลดลงในแต่ละรอบของการเลี้ยงเซลล์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่อายุต่างกัน (61 และ 84 ปี)พบว่าความยาวเทโลเมียร์และจำนวนชุด mtDNA ของผู้ป่วยที่อายุมากมีความยาวเทโลเมียร์สั้นกว่าและจำนวนชุด mtDNA น้อยกว่าผู้ป่วยที่อายุน้อย นอกจากนี้เมื่อทำการศึกษา cell senescence เซลล์จากผู้ป่วยที่อายุแตกต่างกันผ่านไปในแต่ละรอบของการเลี้ยงเซลล์ พบว่าเซลล์ของผู้ป่วยที่มีอายุมาก (77 และ 84 ปี) มีร้อยละของการติดสี SA-β-gal ตั้งแต่การเลี้ยงเซลล์ในรอบแรก ซึ่งมากกว่าเซลล์ของผู้ป่วยที่มีอายุน้อย (61 และ66 ปี) และแต่ละรอบของการเลี้ยงเซลล์พบจำนวนร้อยละการติดสี SA-β-galเพิ่มจำนวนมากขึ้นในแต่ละรอบสรุป : การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความยาวเทโลเมียร์ จำนวนชุด mtDNA ของเซลล์จากชิ้นเอ็นช่องไขสันหลังลดลงตามจำนวนรอบของการเลี้ยงเซลล์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงลดลงตามอายุของผู้ป่วยและพยาธิสภาพของโรค ส่งผลให้เกิดการสะสมของ cell senescence มากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่มีต่อพยาธิกำเนิดของโรคโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.61.4.8

First Page

497

Last Page

509

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.