•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วโลก โดยมีความชุกในวัยผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 20 - 40ปัจจุบันได้มีเครื่องมือซึ่งนำมาช่วยวินิจฉัยภาวะตับคั่งไขมันและพังผืดในตับได้ไวมากขึ้น คือ เครื่อง Controlled attenuation parameter withtransient elastography (CAP-TE) ทางผู้วิจัยจึงได้นำมาใช้ในงานวิจัยนี้วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความชุกของภาวะตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในกลุ่มบุคลากรของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่มีและไม่มีภาวะอ้วนลงพุง และเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะตับคั่งไขมัน อย่างมีนัยสำคัญที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์วิธีการทำวิจัย : งานวิจัยดำเนินการเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมพ.ศ. 2559 ถึงเดือนตุลาคมพ.ศ. 2559 โดยทำการสุ่มประชากรจากบุคลากรโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทั้งหมด 250 ราย หลัง จากให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยได้ผู้เข้าร่วมงานวิจัย 161 ราย โดยทำการเก็บข้อมูล ได้แก่ อายุ เพศน้ำหนัก ส่วนสูง รอบเอว รอบสะโพก ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มต่อวันการมีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร ระดับไขมันในเลือด ค่าการทำงานของตับผลเลือดไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี หลังจากนั้นทำการตรวจหาภาวะตับคั่งไขมันและปริมาณพังผืดในตับด้วยเครื่อง CAP-TEโดยวัดทั้งหมด 10 ครั้ง และแสดงค่ามัธยฐาน ซึ่งพังผืดตับถูกวัดออกมาในหน่วยกิโลปาสคาล และปริมาณไขมันในตับจะวัดออกมาในหน่วยเดซิเบล/เมตร ภาวะตับคั่งไขมันคือมีปริมาณไขมันในตับมากกว่าร้อยละ 10 แต่หากปริมาณไขมันในตับมากกว่าร้อยละ 33จะเรียกว่าภาวะตับคั่งไขมันอย่างมีนัยสำคัญ และหากมากกว่าร้อยละ66 เรียกว่าภาวะตับคั่งไขมันอย่างรุนแรง ส่วนภาวะอ้วน คือ การมีดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 25 กิโลกรัม/ตารางเมตรผลการศึกษา : มีผู้ที่มีภาวะตับคั่งไขมัน 99 รายจากผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 161 ราย(ร้อยละ 61.5) โดยพบว่ากลุ่มที่มีภาวะอ้วนลงพุงนั้นมีความชุกของภาวะตับคั่งไขมันสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะอ้วนลงพุง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 97 และร้อยละ 52 ตามลำดับ, P < 0.001) โดยปัจจัยเสี่ยงของภาวะตับคั่งไขมันอย่างมีนัยสำคัญ คือ ภาวะอ้วน (OR 12.4,95% CI 5.8 - 26.4) รอบเอวที่เพิ่มขึ้น (OR 11.0, 95% CI 4.9 - 24.4)มีโรคความดันโลหิตสูง (OR 5.5, 95% CI 1.9 - 15.9) การมีระดับน้ำตาลหลังอดอาหารมากกว่า 100 มก./ดล. (OR 3.3, 95% CI 1.4 -7.7) ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (OR 8.7, 95% CI 3.1 - 24.6)ระดับโคเลสเตอรอลชนิดเอชดีแอลในเลือดต่ำ (OR 3.5, 95% CI 1.7 -7.1) รวมถึงมีภาวะอ้วนลงพุง (OR 26.6, 95% CI 7.6 - 92.6) เมื่อนำปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวไปทำ Multivariate analysis พบว่าตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ภาวะอ้วน (OR 3.6, 95% CI 1.3 - 9.9,P = 0.014) และค่าการทำงานของตับ (ALT)(OR 1.05, 95% CI 1.00 -1.09, P = 0.03) นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ที่มีภาวะพังผืดตับสูงอย่างมีนัยสำคัญ (มากกว่า 7 กิโลปาสคาล) ร้อยละ 3.8 และผู้ที่มีภาวะไขมันคั่งตับรุนแรง (ไขมันในตับมากกว่าร้อยละ 66) ร้อยละ 19.3สรุป : ความชุกของภาวะตับคั่งไขมันของประชากรตัวอย่างในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จากการวินิจฉัยด้วยเครื่อง CAP-TE คือ ร้อยละ 61.5โดยที่ความชุกของภาวะตับคั่งไขมันในกลุ่มที่มีภาวะอ้วนลงพุงสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะอ้วนลงพุง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและพบความชุกของภาวะพังผืดตับร้อยละ 3.8.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.61.4.7

First Page

483

Last Page

495

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.