•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : กลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร (sick building syndrome; SBS) ถือเป็นกลุ่มอาการ ที่ไม่มีลักษณะเฉพาะของโรค และไม่สามารถระบุสาเหตุแน่ชัดได้ ซึ่งเกิดขึ้นกับกลุ่มคนทำงานในอาคารสำนักงาน โดยอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ มากมายที่เกิดขึ้นกับร่างกายนั้น มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและปัจจัยทางจิตสังคมในที่ทำงาน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่าง SBS กับความเครียดของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน ยังไม่ได้มีการศึกษาในประเทศไทยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของ SBS และความเครียดของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงานและศึกษาความสัมพันธ์ของ SBS ความเครียดและปัจจัยใดที่เกี่ยวข้องกับการเกิด SBSวิธีการทำวิจัย : การศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลจากพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน เอสเอ็มทาวเวอร์ จำนวน 273 คน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งมีทั้งสิ้น 4 ส่วน ประกอบด้วย 1) แบบ สอบถามข้อมูลทั่วไป2) ข้อมูลด้านสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในสถานที่ทำงาน3) ข้อมูลด้านกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร หรือ SBS 4) แบบสอบถามวัดความเครียด (Suanprung Stress Test-20, SPST-20) สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Chi-Square และ multiple logistic regressionผลการศึกษา : พบอัตราความชุกของ SBS ในพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน ร้อยละ 37.4 และพบอัตราความชุกของพนักงานที่มีความเครียดอยู่ในระดับน้อย ปานกลาง สูง และรุนแรง ร้อยละ 14.4,29.3, 44.3 และ 15.0 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติการถดถอยแบบพหุคูณ (multiple logistic regression) พบว่ามีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด SBS ของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ความเครียดระดับรุนแรง (OR = 4.90, 95%CI= 1.55 - 15.48) จำนวนชั่วโมงในการใช้คอมพิวเตอร์ที่มากกว่า 8 ชม. ต่อวัน (OR = 2.53,95%CI = 1.28 - 5.00) ชนิดของวัสดุที่ใช้ทำพื้นห้องที่ทำมาจากพีวีซีหรือพลาสติก (OR = 2.13, 95%CI = 1.15 - 3.95) และการใช้อุปกรณ์สำนักงานขนาดเล็กที่มีไอระเหย และมีกลิ่นเหม็น อาทิ น้ำยาลบคำผิดและกาว (OR = 1.97, 95%CI = 1.09 - 3.57)สรุป : หน่วยงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยควรให้ความสำคัญ ไม่เพียงแต่ในภาวะด้านความปลอดภัย และปัจจัยทางสภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคารที่ทำงาน แต่ยังต้องมีการวางแผนเชิงกลยุทธในวิธีการจัดการกับความเครียดสำหรับพนักงานในองค์กร เพื่อลดการเกิดSBS ของพนักงาน อีกทั้งยังถือเป็นการสนับสนุนการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพนักงาน.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.61.4.10

First Page

525

Last Page

538

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.