Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : ผู้ป่วยที่มีอวัยวะเพศกำกวม มักประสบความลำบากในการระบุเพศมีรายงานว่าผู้ป่วยอาจมีบทบาททางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศที่เบี่ยงเบน แต่การศึกษาเรื่องพัฒนาการทางเพศในผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังขาดแคลนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการระบุเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ และบทบาททางเพศในผู้ป่วยอวัยวะเพศกำกวมวิธีการศึกษา : ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะอวัยวะเพศกำกวม อายุระหว่าง 3 - 18 ปีจำนวน 30 รายและผู้ปกครอง ที่แผนกผู้ป่วยนอกต่อมไร้ท่อฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แนวคำถาม ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่อง อัตลักษณ์ทางเพศ บทบาททางเพศ ร่วมกับการรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ และทำการวิเคราะห์แบบโคไลซี่ และcontent analysisผลการศึกษา : พบผู้ป่วยโรค 46XX, disorders of sexual developments (DSD)21 ราย, 46XY, DSD 8 ราย 45X,46XY DSD 1 รายมีผู้ป่วย 9 รายที่เคยได้รับการประเมินทางจิตวิทยา มีผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาตั้งแต่แรกเกิด 12 ราย มีผู้ป่วยที่ได้รับการระบุเพศแรกเกิดเป็นเพศหญิง20 ราย เพศชาย 10 ราย และมีผู้ป่วยได้รับการระบุเพศใหม่โดยแพทย์5 ราย ผู้ป่วยขอเปลี่ยนเพศเอง 2 ราย พบรูปแบบของบทบาททางเพศในผู้ป่วย 46XX, DSD ด้านทรงผม การแต่งตัว และกลุ่มเพื่อน เป็นแบบหญิง ต่างจากบทบาทด้าน กิจกรรม การเล่นหรือของเล่นที่เป็นแบบชายหรือแบบผสม ในขณะที่บทบาททางเพศของผู้ป่วย 46XY, DSDส่วนใหญ่เป็นแบบชาย พบผู้ป่วยที่มีอัตลักษณ์ทางเพศหญิง 17 ราย,ชาย 9 ราย, ไม่แน่ใจ 1 ราย และยังแยกแยะเพศไม่ได้ 3 ราย โดยผู้ป่วย46XX,DSD ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศหญิง 4 ราย แสดงความต้องการจะเป็นอีกเพศหนึ่ง.สรุป : บทบาททางเพศส่วนใหญ่สอดคล้องกับโครโมเซมเพศ ยกเว้นบทบาททางเพศด้านกิจกรรม การเล่นหรือของเล่นในผู้ป่วยอวัยวะเพศกำกวมที่มีโครโมโซมเพศหญิงที่เป็นบทบาทแบบชาย ในขณะที่พบอัตลักษณ์ทางเพศของผู้ป่วยบางรายไม่ตรงกับโครโมโซมเพศ อนึ่งผู้ป่วยจำนวนมากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเกิด และไม่เคยได้รับการประเมินทางจิตวิทยา สะท้อนถึงความสำคัญในการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยอวัยวะเพศกำกวมของประเทศไทยต่อไป.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.61.3.8
First Page
373
Last Page
385
Recommended Citation
เกิดโชค, พันตรี; จันทร์ศิริ, ปริชวัน; and สหกิจรุ่งเรือง, ธนินี
(2017)
"การระบุเพศ บทบาททางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศในผู้ป่วยอวัยวะเพศกำกวมที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 61:
Iss.
3, Article 9.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.61.3.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss3/9