Abstract
ผู้ป่วยระยะท้ายในหอผู้ป่วยไอซียูมักเป็นผู้ป่วยวิกฤต ที่มีภาวะการเจ็บป่วยของโรครุนแรงเฉียบพลัน คุกคามและเป็นอันตรายต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญของร่างกาย จนร่างกายไม่สามารถปรับตัวต่อความล้มเหลวได้ และผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้าสู่ระยะท้ายของชีวิตและตายในที่สุด ผู้ป่วยวิกฤตในหอผู้ป่วยไอซียูจะได้รับการดูแลแบบเต็มรูปแบบ (aggressive care) โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีทาง การแพทย์ขั้นสูงเพียงเพื่อยื้อหรือยืดชีวิตผู้ป่วยต้องอยู่กับความทุกข์ทรมาน สูญเสียคุณภาพชีวิตไม่ได้ทำในสิ่งที่ตนเองปรารถนาก่อนตาย ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างการดูแลแบบเต็มรูปแบบในหอผู้ป่วยไอซียูกับความต้องการของผู้ป่วย แม้ว่าผู้ป่วยในหอผู้ป่วยไอซียูจะได้รับการดูแลอย่าใกล้ชิดแบบเต็มรูปแบบด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงก็ตาม ทีมบริบาลยังขาดแนวทางสื่อสารเพื่อประสานการดูแลกับผู้ป่วยและครอบครัว ในเรื่องการประเมินความเข้าใจของโรค การให้ข้อมูลที่จำเป็นรวมถึงการให้ครอบครัวผู้ป่วยได้รับรู้ถึงลำดับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญการอธิบายทางเลือก และร่วมกำหนดเป้าหมายของการดูแลการลดความวิตกกังวล ความโดดเดี่ยวความกลัว และการค้นหาความต้องการในระยะท้ายของชีวิต โดยเฉพาะการชั่งน้ำหนักระหว่างการมีชีวิตที่ยาวขึ้นกับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสที่ต้องเผชิญ การดูแลผู้ป่วยวิกฤติจนถึงระยะสุดท้ายจึงเป็นภารกิจสำคัญของทีมบริบาลในการจัดการต่อสภาพปัญหาดังกล่าว และเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิต กุญแจสำคัญของการบริบาล คือผู้ป่วยและญาติได้รับรู้ต่อสภาวะใกล้ตาย ดังนั้นแนวทางการสนทนาเพื่อค้นหาความต้องการและวางเป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทีมบริบาลควรช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการดูแลตามความปรารถนาและคงไว้ ซึ่งการตายอย่างมีศักดิ์ศรี.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.61.3.7
First Page
363
Last Page
372
Recommended Citation
เวชรัชต์พิมล, กุลพิชฌาย์
(2017)
"แนวทางการสนทนาเพื่อเพิ่มคุณภาพการบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายในหอผู้ป่วยไอซียู,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 61:
Iss.
3, Article 8.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.61.3.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss3/8