Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : เท้ามีตำแหน่งการสะท้อนที่สามารถเชื่อมโยงกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อกระตุ้นตามตำแหน่งต่าง ๆ ของเท้าจะเกิดการสะท้อนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของอวัยวะนั้น ๆวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการนวดกดจุดสะท้อนเท้าบริเวณที่เชื่อมโยงกับสมองต่อเวลาปฏิกิริยาอย่างง่ายในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี เพศหญิง จำนวน 24 คน อายุระหว่าง 21 - 30 ปีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยการสุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (นวดกดจุดสะท้อนเท้าบริเวณที่เชื่อมโยงกับสมอง, n = 12) และกลุ่มควบคุม(แตะจุดสะท้อนเท้าบริเวณที่เชื่อมโยงกับสมอง, n = 12) โดยทำการวัดเวลาปฏิกิริยาอย่างง่ายของมือขวาและมือซ้ายผลการศึกษา : พบว่าหลังการนวดกดจุดและแตะเบา ๆ ที่จุดสะท้อนเท้าบริเวณที่เชื่อมโยงกับสมอง เวลาปฏิกิริยาอย่างง่ายมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) แต่ค่าเวลาปฏิกิริยาอย่างง่ายที่ทดสอบด้วยมือขวาและมือซ้ายหลังการนวดกดจุดและแตะเบา ๆ ไม่มีความแตกต่างกันทั้งการนวดกดจุดเท้าขวาและเท้าซ้าย และค่าเวลาปฏิกิริยาอย่างง่ายทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันสรุป : การนวดกดจุดและแตะเบา ๆ ที่จุดสะท้อนเท้าบริเวณที่เชื่อมโยงกับสมองมีผลต่อการลดลงของเวลาปฏิกิริยาอย่างง่าย.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.61.3.10
First Page
401
Last Page
411
Recommended Citation
ศรีสุภรกรกุล, กนกวรรณ; ปัญญาพฤกษ์, จีรวรินทร์ทิพย์; อินปรางค์, ทรรศนีย์; นาคดี, เกวลี; บุณยารมย์, อรอุมา; and สมถวิล, สมภิยา
(2017)
"ผลการนวดกดจุดสะท้อนเท้าบริเวณที่เชื่อมโยงกับสมองต่อเวลาปฏิกิริยาอย่างง่ายในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 61:
Iss.
3, Article 11.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.61.3.10
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss3/11